1024x576 Rama รุก หรือ รับ
Home
"รุก" หรือ "รับ" ฝ่ายไหนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากัน
"รุก" หรือ "รับ" ฝ่ายไหนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากัน

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “โรคเอดส์” กับ “เอชไอวี” ไม่เหมือนกัน “เอชไอวี” คือชื่อเชื้อไวรัส “โรคเอดส์” คือกลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เพราะฉะนั้นการติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้เท่ากับโรคเอดส์ทุกราย แต่ถ้าติดเชื้อเอชไอวีแล้วไม่ได้รับการรักษาก็สามารถเป็นโรคเอดส์ได้

ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณสารคัดหลั่งที่สัมผัส เช่น เลือดและสารคัดหลั่งที่มีเลือดปนจะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีมากที่สุด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ น้ำคร่ำ น้ำในช่องคลอด ส่วนที่มีความเป็นไปได้น้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่มีเลยคือ น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก และเสมหะ ถ้าไม่ได้มีเลือดปนอยู่ด้วย

จากการศึกษาได้เปิดเผยตัวเลขประมาณความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รัก ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ฝ่ายรับที่เป็นเพศหญิงจะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีถึง 8 ใน 10,000 ครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนฝ่ายรุกที่เป็นเพศชายจะมีความเสี่ยงเพียงแค่ 4 ใน 10,000 ครั้ง หรือมีความเสี่ยงครึ่งหนึ่งของฝ่ายรับ

มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

ส่วนคู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก นอกจากจะเป็นคู่ชายรักชายแล้ว ปัจจุบันพบว่าคู่รักชายหญิงก็มีรสนิยมทางเพศทางทวารหนักด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวเลขของฝ่ายรับไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีมากถึง 138 ใน 10,000 ครั้ง ส่วนฝ่ายรุกที่เป็นเพศชายมีความเสี่ยงเพียง 11 ใน 10,000 ครั้ง เท่านั้น

มีเพศสัมพันธ์ทางปาก

อย่างที่รู้กันดีว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้น ไม่ได้มีแค่ทางช่องคลอดและทางทวารหนักเท่านั้น แต่สามารถร่วมรักทางปากได้ด้วย ซึ่งความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรับหรือฝ่ายรุกนั้นมีตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงนั้นคือศูนย์ เพราะถ้าปากมีเลือดออก มีแผล หรือเหงือกอักเสบ ก็สามารถเป็นทางเข้าเชื้อเอชไอวีได้เช่นเดียวกัน

ส่วนสาเหตุที่การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อที่สูงกว่าช่องทางอื่นนั้น เป็นเพราะทวารหนักบอบบางและมีสารหล่อลื่นน้อย ทำให้เกิดการบาดเจ็บและการฉีกขาดบริเวณทวารหนักจนเกิดแผลได้ง่าย รวมไปถึงมีเซลล์ต่าง ๆ ที่สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้ง่าย ทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงมีมากกว่าช่องทางอื่น

 

ข้อมูลโดย
ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “The Sexcret ตอนที่ 7 : เอดส์ รู้ไว้ก่อนเสี่ยง ช่วงที่ 2/3” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

กระดูก โรคกระดูกพรุน
กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย เป็นอาการของ โรคกระดูกพรุน ที่หากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
Article
21-05-2024

13

หากเราใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นแปรงฟันให้ถูกวิธี และพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้น
Article
20-05-2024

5

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Article
17-05-2024

14

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
Article
16-05-2024

5