ปกบทความนอนไม่หลับ
Home
นอนไม่หลับ แก้ได้... เริ่มจากตัวเรา
นอนไม่หลับ แก้ได้... เริ่มจากตัวเรา

โรคนอนไม่หลับ

มีอาการอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบ

  1. ลักษณะการเข้านอนหลับยาก
  2. ตื่นในช่วงกลางคืน
  3. ตื่นก่อนเวลาที่ควรจะตื่น

 

อาการและผลกระทบ

อาการทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วก็จะมีระยะเวลานานทั้งหมด 3 เดือนขึ้นไปโดยอาการการต่าง ๆ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ในวันรุ่งขึ้นรู้สึกว่าไม่สดชื่น อ่อนเพลีย และมีลักษณะอารมณ์ที่แปรปรวน เป็นต้น

 

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้ ได้แก่

  1. มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังหรืออาการปวดต่าง ๆ เป็นสภาวะทางจิตใจ เป็นความเครียด หรือเกิดการพยายามนอนมากเกิน
  2. มีพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น การออกกำลังกายในช่วงกลางดึกใกล้ ๆ ถึงเวลาการนอน
  3. การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม
  4. มีลักษณะการเข้านอนในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ง่วงหรือมีการทำงาน หรือการนอนดูทีวีนอนเล่นโทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ง่วงบนเตียงนอน

 

วิธีแก้ไขโรคนอนไม่หลับ

  1. ต้องพยายามที่จะไม่พยายามนอน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพยายามจะนอนมากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดความกังวลขึ้นแล้วก็จะทำให้ขัดขวางการเข้าสู่การนอนเพิ่มขึ้น
  2. จัดการปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอน แล้วตื่นนอนให้เหมาะสมกับการนอน ที่ห้องนอนต้องไม่สว่างเกินไป ต้องมืดและเงียบ แล้วก็มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป
  3. สำรวจหาพฤติกรรมที่เป็นผลเสียต่อการนอน เช่น การดื่มกาแฟในเวลาที่เย็นมากเกินไป มีการออกกำลังกายในช่วงเวลากลางคืน และนอนในเวลากลางวัน

 

หากทราบสาเหตุแล้ว ให้ปรับปรุงตรงจุดนั้น สุดท้ายก็คือ จำเป็นต้องผ่อนคลายความเครียด โดยใช้เวลา 30 นาทีก่อนที่จะเข้านอน ลองการอ่านหนังสือที่เบาสมอง ฟังเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง หรือว่าเป็นการผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการหายใจ เป็นต้น

 

ข้อมูลโดย
อ. นพ.จาตุรงค์ ศิริเฑียรทอง
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “นอนไม่หลับ แก้ได้… เริ่มจากตัวเรา” ได้ที่นี่

YOUTUBE : https://www.youtube.com/watch?v=_hsa4aoqgDk

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้จริงหรือ
ปวดหัว ในตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะพอบอกโรคคร่าว ๆ ได้บ้างโรคปวดศีรษะที่พบมากที่สุด เป็นโรคปวดหัวที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ
Article
22-05-2024

6

กระดูก โรคกระดูกพรุน
กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย เป็นอาการของ โรคกระดูกพรุน ที่หากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
Article
21-05-2024

16

หากเราใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นแปรงฟันให้ถูกวิธี และพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้น
Article
20-05-2024

10

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Article
17-05-2024

20