อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
Home
อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคนิ่วจะไม่แสดงอาการเบื้องต้นให้เห็น เมื่อปล่อยระยะเวลาไว้นานเกินไปจึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงและอาจเกิดโรคไตระยะสุดท้ายจนถึงแก่ชีวิตได้

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วเป็นสารที่ออกมากับปัสสาวะโดยจะมีผลึกต่าง ๆ ที่กรองออกมา เมื่อเกิดสารเหล่านั้นมากเกินไปจะกลายเป็นผลึกและตกตะกอนออกมาเป็นก้อน หากก้อนเหล่านั้นมีขนาดเล็กมักจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้เองตามปกติ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่มากขึ้นจะมีโอกาสไปเกาะหรือไปติดบริเวณทางเดินปัสสาวะได้

นิ่วทางเดินปัสสาวะ กับอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ

อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

  • เพศชายวัยทำงานที่อายุมากกว่า 40 ปี
  • ดื่มน้ำน้อยจนเกินไป
  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • รับประทานอาหารบางอย่าง เช่น เครื่องในสัตว์ ชา อาหารเค็ม และอาหารที่มีออกซาเลต

อาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว โดยส่วนมากผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดเล็กมักจะไม่มีอาการแสดงแต่ในผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาดใหญ่จะมีการอุดตันมากขึ้น ทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  • ปวดบั้นเอวหรือหลัง
  • ปวดท้องน้อยด้านล่าง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ปัสสาวะเป็นเลือด ขุ่น หรือ ก้อนกรวดหลุดออกมา
  • มีไข้สูง หนาวสั่น

อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

วิธีการป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำมาก ๆ เกิน 2 ลิตรหรือ 2 ลิตรครึ่งต่อวัน น้ำจะมีส่วนช่วยให้ความเข้มข้นของปัสสาวะลดลงและลดสารที่ก่อให้เกิดนิ่วได้ดี
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง เช่น ถั่ว ผักโขม หรือลูกเนียง
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการค้นหาความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เบื้องต้น หากพบอาการจะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

อาการเสี่ยง ! นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

วิธีการรักษา นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์รวมไปถึงขนาดและตำแหน่งของก้อนนิ่วโดยสามารถรักษาด้วยวิธีดังนี้

  1. รักษาด้วยการให้ยา หากพบก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก แพทย์จะใช้ยาเพื่อให้ก้อนนิ่วละลายและหลุดออกทางปัสสาวะ
  2. สลายนิ่ว เป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนนิ่วขนาด 2-3 เซนติเมตร โดยจะส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงไปกระแทกก้อนนิ่วจนเกิดการแตกตัวเป็นผงและหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะ
  3. ผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ ซึ่งแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปกรอก้อนนิ่ว เพื่อให้เกิดการแตกตัว

 

ข้อมูลจาก

อ. นพ.ชินเขต เกษสุวรรณ

สาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ

ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีสาเหตุหลักคือการสะสมไขมันของเส้นเลือด เมื่อมีมากเกินไปไขมันดังกล่าวจะไปปิดทางเดินของเลือดจนมิดแล้วส่งผลต่อชีวิต
Article
23-05-2024

4

ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้จริงหรือ
ปวดหัว ในตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะพอบอกโรคคร่าว ๆ ได้บ้างโรคปวดศีรษะที่พบมากที่สุด เป็นโรคปวดหัวที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ
Article
22-05-2024

9

กระดูก โรคกระดูกพรุน
กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย เป็นอาการของ โรคกระดูกพรุน ที่หากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
Article
21-05-2024

19

หากเราใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นแปรงฟันให้ถูกวิธี และพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้น
Article
20-05-2024

11