2
138
0
0
0
ผลของการใช้ Rama ET-Tube Intubation Cart ต่อระยะเวลาการเตรียมและความถูกต้องครบถ้วนของอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก
07-02-2024
07-02-2024
- ฐิติมา วัฒนเสรีเวช
- สุพัตรา เผ่าพันธ์
- ศรีวรรณา ทาสันเทียะ
ชุติรัตน์ สนปี

บทคัดย่อหรือเนื้อเรื่องย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองแบบข้ามสลับในกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้ Rama ET-tube intubation cart ต่อระยะเวลาการ เตรียมและความถูกต้องครบถ้วนของอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วย วิกฤตเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลหอผู้ป่วยกุมารเวชบำบัดวิกฤต คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ Rama ET-tube intubation cart โดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ภายในรถเข็นใส่ อุปกรณ์สำหรับใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเด็ก จัดเรียงลำดับชั้นตามอายุและ น้ำหนักของผู้ป่วยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบ บันทึกเวลาและรายการอุปกรณ์ที่ใช้ในการใส่ท่อช่วยหายใจ ทำการสุ่มวิธีการ เตรียมอุปกรณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เลือกวิธีการเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ ด้วยวิธีการเตรียมตามปกติหรือการใช้ Rama ET-tube intubation cart ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ RAMA ET-tube intubation cart ใช้ ระยะเวลาในการเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจน้อยกว่าวิธีการพยาบาล ตามปกติ และเตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจได้ถูกต้องครบถ้วนมากกว่า วิธีการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายการ PDF (Preview)
1.) ผลของการใช้ Rama ET-Tube Intubation Cart ต่อระยะเวลาการเตรียมและความถูกต้องครบถ้วนของอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก
รายการไฟล์แนบ
ผลของการใช้ Rama ET-Tube Intubation Cart ต่อระยะเวลาการเตรียมและความถูกต้องครบถ้วนของอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก
ชื่อผู้เผยแพร่
ชุติรัตน์ สนปี
กลุ่มงานผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) - 07-02-2024
แสดงความคิดเห็น