ในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จุดแข็งคือเป็น true cardiovascular longitudinal cohort ที่มีการเก็บข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาอย่างเป็นระบบในระยะเวลาที่ติดตาม
มีการเก็บ outcome ตัวโรค เป็นการใช้สิ่งที่บันทึกในเวชระเบียนเป็นหลัก (medical record) ไม่ได้เป็นการใช้แค่การสัมภาษณ์ (verbal autopsy) หรือแค่ฐานข้อมูลจากทะเบียนราษฎ์ (national database) ดังที่ cohort อื่นๆใช้
แม้ว่าประชากรศึกษาเป็นกลุ่มพนักงาน กฟผ อาจจะทำให้ค่าความชุกของโรค หรืออุบัติการณ์ของโรคต่างไปจากค่าของคนไทยทั้งประเทศ (healthy worker effect) การดูอิทธิพล (influence) ของปัจจั เสี่ยง ต่อการเกิดโรคต่างๆ จะไม่ควรแตกต่างจากประชากรไทยทั่วๆไป เนื่องจากมีลักษณะทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ อาหารการกิน เป็นแบบคนไทย อีกทั้งในความเป็นจริง สภาพเศรษฐานะทางสังคมในกลุ่มพนักงานการไฟฟ้านี้ มีความหลากหลายมาก และปัจจุบันกลุ่มพนักงานที่เกษียณแล้วกลับไปใช้ชีวิตอย่างผู้เกษียณก็มีจำนวนมาก (อายุเกิน 60 ปีหลายพันคน) ค่าที่วัดได้ต่างๆ จึงสามารถที่จะบอกได้ว่าไม่น่าจะแตกต่างจากคนไทยอื่นๆทั่วๆไปในวัยเดียวกัน
Reference: https://web.facebook.com/egatstudy?_rdr