อินโฟกราฟิก เรื่อง เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เครื่อง AED เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวินิจฉัย ผู้ป่วยฉุกเฉิน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
Home
เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ อุปกรณ์เพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน - ลัดคิวหมอ
เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ อุปกรณ์เพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน - ลัดคิวหมอ

กู้ชีพให้ ผู้ป่วย ด้วย เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ 💓

  1. เปิดเครื่อง
  2. ติดแผ่นแรกที่หน้าอกใต้ไหปลาร้าขวา แผ่นที่ 2 ติดที่ชายโครงซ้าย
  3. เครื่องจะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด
  4. เครื่องแนะนำหลังการวิเคราะห์
    • ผู้ป่วยต้องการช็อกไฟฟ้า
      • กดปุ่ม Shock (ห้ามสัมผัส)
      • ทำ CPR ต่อเนื่อง 2 นาที
    • ผู้ป่วยไม่ต้องการช็อกไฟฟ้า
      • สัมผัสผู้ป่วยได้
      • ทำ CPR ได้ทันที

หลัก 3H

  1. ตรวจสอบอันตรายหรือภาวะเสี่ยงก่อน โดยดูว่าบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่มีอะไรอันตรายบ้าง
  2. โทรสายด่วน 1669 พร้อมปฐมพยาบาล ตามคำแนะนำของนักฉุกเฉินการแพทย์
  3. ปลุกเรียกผู้ป่วยฉุกเฉินหากไม่ตอบสนอง ให้รีบนำเครื่อง AED เข้ามาช่วยเหลือ

ควรใช้ในสถานการณ์ใด ?

  • กรณีผู้ป่วยหมดสติและผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
  • กรณีผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก สงสัยว่าโรคหัวใจกำเริบ ที่ไม่รู้สึกตัวและหมดสติ
  • กรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อตที่ไม่รู้สึกตัวและหมดสติ

 

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – ลัดคิวหมอ – เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ การกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน 15/03/67 | by RAMA Channel

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.วีระวัฒน์ เธียรประธาน

ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บริการด้านอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/
Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel
Line: https://page.line.me/ramathibodi