กาแฟกับมะเร็ง
Home
ดื่มกาแฟเสี่ยงเป็นมะเร็งจริงหรือไม่?
ดื่มกาแฟเสี่ยงเป็นมะเร็งจริงหรือไม่?

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เพราะกาแฟมีสารคาเฟอีนที่ทำให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และรู้สึกสดชื่นตลอดวัน ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อมูลของการเกิดมะเร็งจากการดื่มกาแฟออกมา กลายเป็นข้อสงสัยอยู่ว่าข้อมูลดังกล่าวจริงเท็จอย่างไร และถ้าหากเป็นความจริง อัตราความเสี่ยงของกาแฟจะทำให้เกิดมะเร็งมากหรือน้อยแค่ไหนกัน

ที่มาของความเชื่อเรื่องกาแฟทำให้เป็นมะเร็ง

ความเชื่อที่ว่าการดื่มกาแฟทำให้เป็นมะเร็งนั้นมาจากสารในกาแฟที่ชื่อว่า “อะคริลาไมด์” (Acrylamide) เป็นสารที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวเกินปริมาณที่กำหนดไว้ จะมีความเสี่ยงและทำให้เป็นมะเร็งได้ โดยสารชนิดนี้สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการนำมาผ่านความร้อนสูง เช่น ขนมอบกรอบที่ต้องผ่านการทอดด้วยความร้อนสูง เป็นต้น รวมถึงกาแฟก็เช่นกัน ที่อาจเกิดสารอะคริลาไมด์ได้จากขั้นตอนการคั่วกาแฟ รวมถึงขั้นตอนการทำกาแฟสำเร็จรูปที่ทำให้เกิดสารอะคริลาไมด์อีกครั้งหนึ่ง

ปริมาณการได้รับสารอะคริลาไมด์ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

มีตัวเลขกำหนดไว้ว่าร่างกายควรได้รับสารอะคริลาไมด์ไม่เกิน 2.6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับมากกว่าที่กำหนดไว้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

กาแฟมีสารก่อมะเร็ง (อะคริลาไมด์) มากเท่าไร

จากการศึกษาของประเทศโปแลนด์พบว่าในกาแฟคั่วบดหรือกาแฟสด 160 ซีซี (ประมาณ 1 แก้ว) มีสารอะคริลาไมด์ 0.15-1 ไมโครกรัม แสดงว่าหากคนที่มีน้ำหนักตัว 40 กิโลกรัม จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งจากการดื่มกาแฟได้นั้น ต้องได้รับสารอะคริลาไมด์เกิน 40×2.6 = 104 ไมโครกรัม โดยในกาแฟ 1 แก้วมีสารอะคริลาไมด์ 0.15-1 ไมโครกรัม แปลว่าในคนที่มีน้ำหนัก 40 กิโลกรัมจะต้องบริโภคกาแฟมากกว่า 104 แก้ว จึงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง แสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟในปริมาณปกตินั้น ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งแต่อย่างใด

ผลลัพธ์อื่นจากการดื่มกาแฟ

  • ในกาแฟมีคาเฟอีน ทำให้ตื่นตัว สดใส กระปรี้ประเปร่า
  • ผลข้างเคียงเล็กน้อย ได้แก่ ทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย จึงไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมโรคได้ไม่ดี
  • กาแฟมีความเป็นกรดพอสมควร จึงทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยกรดไหลย้อน เพราะจะกระตุ้นให้ตัวโรคมีอาการรุนแรงขึ้น
  • ฤทธิ์ของคาเฟอีนที่ทำให้ตื่นตัวหากได้รับผิดเวลาจะทำให้นอนไม่หลับ ข้อแนะนำคือควรได้รับในช่วงครึ่งเช้าของวัน หรือพยายามอย่าให้เกิน 00 น.
  • ในกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคเส้นเลือดอุดตัน เคยมีการศึกษาพบว่าในคนที่บริโภคกาแฟดำ 2 แก้วขึ้นไป มีอัตราการเกิดมะเร็งน้อยกว่าประชากรทั่วไป
  • การศึกษาฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ของกาแฟทั้งหมดเป็นการศึกษาในกาแฟดำ การดื่มกาแฟที่ใส่ครีมหรือน้ำตาลมากยังต้องระมัดระวังภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง และน้ำตาลสูงจากน้ำตาล ครีม หรือครีมเทียมที่เติมเข้าไป

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ
สาขาวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การดื่มกาแฟ มีผลทำให้เป็นมะเร็งจริงหรือไม่?” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้จริงหรือ
ปวดหัว ในตำแหน่งต่าง ๆ อาจจะพอบอกโรคคร่าว ๆ ได้บ้างโรคปวดศีรษะที่พบมากที่สุด เป็นโรคปวดหัวที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ
Article
22-05-2024

6

กระดูก โรคกระดูกพรุน
กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย เป็นอาการของ โรคกระดูกพรุน ที่หากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
Article
21-05-2024

16

หากเราใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นแปรงฟันให้ถูกวิธี และพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้น
Article
20-05-2024

10

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Article
17-05-2024

19