17-01
Home
แพทย์แนะวิธี "สังเกตยาหมดอายุ" เรื่องสำคัญที่เราอาจเผลอลืม
แพทย์แนะวิธี "สังเกตยาหมดอายุ" เรื่องสำคัญที่เราอาจเผลอลืม

ในการรับประทานยานั้นสิ่งสำคัญที่เราควรตรวจเช็คอย่างแรกเลย คือ การหมดอายุของยา หากเราทานเข้าไปโดยลืมตรวจสอบอายุของยา นอกจากจะไม่หายจากโรคที่เป็นแล้ว ยังสร้างผลเสียต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีก ยาบางชนิดเมื่อเกิดการเสื่อมแล้วเราทานเข้าไปก็สามารถเกิดผลเสียร้ายแรงต่อตับและไตได้เลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงนำวิธีสังเกตยาหมดอายุมาฝากกัน ดังนี้

ยาส่วนมากจะระบุวันที่ผลิตและวันหมดอายุไว้บนฉลากหรือซองยาอย่างชัดเจน

โดยวันที่ผลิตจะเขียนว่า Manu.Date หรือ Mfg.Date ตามด้วยวัน เดือน ปี ของวันที่ผลิตยา ส่วนวันหมดอายุจะเขียนว่า Expiry Date หรือ Used before หรือ Expiring หรือ Use by แล้วตามด้วย วัน-เดือน-ปี ของวันที่ยาหมดอายุ ตัวอย่างเช่น Exp.date 30/07/11 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 30 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2011

ยาบางชนิดระบุไว้เพียงวันผลิตแต่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ

โดยทั่วไปหากเป็นยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้จะเก็บไว้ได้ 3 ปีนับจากวันผลิต แต่หากเปิดใช้แล้วก็ขึ้นอยู่กับว่ามีการดูแลได้ดีพอหรือไม่ เช่น การใช้ปาก จิบยาแก้ไอจากขวด (ไม่ควรทำเพราะจะไม่รู้ปริมาณยาที่แน่นอน) จะทำให้ยาปนเปื้อนและเสียได้ในเวลา 2-3 วัน หากกินโดยการเทใส่ช้อน ปิดฝาอย่างดีและเก็บไว้ในตู้เย็น สัก 3 เดือนก็ควรนำไปทิ้ง ในกรณีที่เป็นยาเม็ดสามารถเก็บรักษาไว้ได้ 5 ปี นับจากวันที่ผลิต

การเฝ้าระวังหรือการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ชีวิตของเราปราศจากอันตราย จากการรับประทานยาที่เสื่อมคุณภาพและหมดอายุได้อย่างแน่นอน

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง อาการตกขาว สารคัดหลั่ง ภายในร่างกายของผู้หญิงที่ถูกขับออกจากช่องคลอด เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามรอบเดือน
อาการตกขาว สารคัดหลั่งภายในร่างกายของผู้หญิงที่ถูกขับออกจากช่องคลอด เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามรอบเดือน
Article
13-06-2024

3

บทความ เรื่อง ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง ที่พบบ่อย
ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งที่พบบ่อย
Article
12-06-2024

0

บทความ เรื่อง อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
Article
11-06-2024

4

บทความ เรื่อง ปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้เสียงอยู่ตลอดเวลาคือ อาการ เสียงแหบ เสียงหาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน
ปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้เสียงอยู่ตลอดเวลาคือ อาการ เสียงแหบ เสียงหาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน
Article
10-06-2024

4