บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
Home
ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง ฉีดอย่างไรให้ถูกวิธี
ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง ฉีดอย่างไรให้ถูกวิธี

ในปัจจุบันมีผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น ทำให้การรักษามีหลายทางเลือก และต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้เป็นหัวใจหลัก คือ อินซูลิน วันนี้มาทำความรู้จักพร้อมแนะนำวิธีการ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง อย่างถูกวิธี

อินซูลิน คืออะไร ?

อินซูลิน คือ สารชนิดหนึ่งซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายเป็นไขมัน หากตับอ่อนผลิตสารอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลยน้ำตาลที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการตกค้างในกระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ในทางการแพทย์จึงนำอินซูลินมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการฉีดสารอินซูลินเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง

ความสำคัญของ อินซูลิน ต่อผู้ป่วย โรคเบาหวาน

เมื่อร่างกายมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมากเกินไป จึงทำให้เลือดมีลักษณะข้นจนไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดในระยะยาว ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึงผลข้างเคียงอย่างภาวะเบาหวานขึ้นตา ไตวายเรื้อรัง และความผิดปกติของปลายระบบประสาทต่างๆ เช่นที่เท้า ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้มานาน ส่วนใหญ่จะมีอาการชาที่ปลายเท้าทำให้ไม่ค่อยรับความรู้สึกเมื่อมีอะไรทิ่มแทง ทำให้เกิดแผลที่เท้าที่รักษาให้หายค่อนข้างยากและหากแผลเกิดการติดเชื้อรุนแรงอาจถึงขั้นตัดอวัยวะนั้นทิ้งเพื่อรักษาร่างกาย ดังนั้นการป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย อินซูลินจึงมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการช่วยป้องกันรวมถึงชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และผู้ป่วยส่วนมากจะเลือก ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง 

โรคเบาหวาน มีกี่ชนิด

สามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ชนิด ได้แก่ 

1. เบาหวานประเภทที่หนึ่ง

เบาหวานชนิดนี้เกิดจาก เบตาเซลล์ (beta cells) ซึ่งมีหน้าที่สร้าง อินซูลิน ในตับอ่อน ถูกทำลายจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เอง เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็ก หรือผู้มีอายุน้อย และมักมีอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินในการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มของการเกิดโรค เพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเลือดเป็นกรด

2. เบาหวานประเภทที่สอง

เบาหวานชนิดนี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันจะแตกต่างจากเบาหวานชนิดที่หนึ่ง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดนี้ คือ ภาวะดื้อ อินซูลิน และมีความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน โดยในระยะแรก ตับอ่อนผลิตและหลั่งอินซูลินมากเกินไปเพื่อเอาชนะภาวะดื้ออินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ก็จะทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก จนก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินเสริมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เพราะฉะนั้น โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ควรเฝ้าระวังไม่ให้เกิดขึ้นเพราะหากเป็นแล้วต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้น อาจเกิดอันตรายกับร่างกายในอนาคตได้ การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีป้องกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – โรคเบาหวาน โรคควรระวัง รู้ก่อนรักษาได้นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องโรคเบาหวานหลากหลายความเชื่อที่ไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดว่าจริงหรือไม่ สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างไรก็ตามการสังเกตอาการของตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวานสำคัญยิ่งกว่า ซึ่งสามารถสังเกตง่าย ๆ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – ใครกันเสี่ยงเป็นเบาหวาน

ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิด โรคเบาหวาน

ปัจจัยจากภายนอกที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  • ขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • ภาวะเครียด

เมื่อตรวจเจอว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรเรียนรู้วิธีรักษาและดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – การรักษาโรคเบาหวาน ค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ที่นี่ นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดเมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน อย่างโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย นั่นก็คือ “ภาวะเบาหวานขึ้นตา” ภาวะที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูญเสียการมองเห็นได้ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – เบาหวานขึ้นตา อันตรายหรือไม่ และ หลายคนมีความเชื่อว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักก็คือ “น้ำตาล” เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วโรคเบาหวานอาจเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ ได้ สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – น้ำตาลเท่านั้นที่ทำให้เป็นเบาหวาน ?

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้

อินซูลิน แบ่งออกเป็นกี่ชนิด

อินซูลินสามารถแบ่งตามการออกฤทธิ์ได้เป็นห้ากลุ่ม ดังนี้

  1. ชนิดออกฤทธิ์เร็ว
  2. ชนิดออกฤทธิ์สั้น
  3. ชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง
  4. ชนิดออกฤทธิ์ยาว
  5. ชนิดออกฤทธิ์ผสม

วิธีการและข้อควรระวังในการฉีด อินซูลิน

วิธีการใช้

  1. คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบา ๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด
  2. ก่อนทำการฉีด ให้นำแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีด ซึ่งควรเลือกตำแหน่งในการฉีดอย่างหน้าท้อง ต้นแขน หน้าขา และสะโพก
  3. เริ่มทำการฉีด ขณะดึงเข็มออกใช้มือกดเบา ๆ และในการฉีดครั้งต่อไปควรฉีดห่างจากจุดเดิม 1 นิ้ว

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้

ข้อควรระวัง เมื่อใช้เข็มฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง

  • ห้ามเขย่าขวดยา เพราะจะทำให้ยาเกิดฟองและทำให้ได้ปริมาณยาไม่ครบตามจำนวน
  • ห้ามฉีดซ้ำที่เดิมมากกว่า 1 ครั้งในระยะเวลา 1-2 เดือน เนื่องจากอาจทำให้บริเวณที่ฉีดเกิดเป็นก้อนไตแข็งได้
  • ห้ามนวดบริเวณที่ฉีด เพราะอาจทำให้ยาดูดซึมเร็วเกินไปจนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ก่อนทำการฉีดให้ตรวจเช็กก่อนว่าเป็นอินซูลินที่ใช้อยู่เป็นประจำหรือไม่

การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง ควรฉีดตอนไหน ต้องฉีดทุกวันไหม

ระยะเวลาในการฉีดยาอินซูลินต้องสัมพันธ์กับมื้ออาหารและชนิดของยา โดยควรทำการฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 15 นาที ในกรณีที่อินซูลินออกฤทธิ์เร็วและฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที ในกรณีที่ออกฤทธิ์สั้น ส่วนชนิดออกฤทธิ์ปานกลางหรือออกฤทธิ์ยาวควรฉีดก่อนรับประทานอาหารหรือก่อนนอน ทั้งนี้ควรฉีดในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันในแต่ละวันเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสม่ำเสมอ

ผลข้างเคียงในการใช้ อินซูลิน

การฉีดอินซูลินอาจเกิดผลข้างเคียงได้ 2 กรณี ดังนี้

1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เกิดจากการใช้ อินซูลิน มากเกินไป รับประทานอาหารน้อยเกินไปและใช้พลังงานที่มากกว่าปกติ อาการที่เกิดขึ้น เช่น ปวดหัว เหงื่อออก ร่างกายเย็น ใจสั่น กระสับกระส่ายและอ่อนเพลีย และมองภาพไม่ชัด หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดีควรรีบดื่มน้ำหวานเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาล แต่หากมีอาการมากไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาทันที

2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

เกิดจากการได้รับอินซูลินไม่เพียงพอหรือรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และมึนงง หากหมดสติหรือเป็นลมให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

การเก็บรักษา อินซูลิน อย่างถูกวิธี

  • เก็บรักษาในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสจะทำให้เก็บได้นานเท่ากับอายุของยา
  • หากเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องจะสามารถใช้ได้นานประมาณ 30 วัน
  • ไม่ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรืออุณหภูมิต่ำมาก ๆ เช่น กลางแดดจัดหรือช่องแช่แข็งในตู้เย็น

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้

การใช้ฉีด อินซูลิน ในการรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้มีความใกล้เคียงกับระดับปกติ อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง ทั้งนี้รูปแบบการรักษาจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยในแต่ละรายซึ่งมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ข้อมูลจาก

ผศ. ดร.ธิราภรณ์ จันทร์ดา

อาจารย์พยาบาล สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ข้อมูลเพิ่มเติม 

รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ (APN).

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน)

หนังสือคู่มือ คำแนะนำการฉีดยาเบาหวานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV
Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel
Line: https://page.line.me/ramathibodi
Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้แพ้ น้ำมูก
ยาแก้แพ้ ยาสามัญประจำบ้านของใครหลาย ๆ คน ที่ช่วยเรื่องอาการแพ้ น้ำมูกไหล ไอ จาม แต่ถ้าหากรับประทานมากหรือบ่อยเกินไปอาจทำให้สมองเสื่อม เป็นความจริงหรือไม่ ? รีบทำความเข้าใจก่อนจะสายเกิน
Article
26-07-2024

23

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
Article
26-07-2024

4

บทความ เรื่อง ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง ที่พบบ่อย
ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งที่พบบ่อย
Article
26-07-2024

2

คนที่ชอบกินหวาน ชอบกินแป้ง ต้องระวังให้มากขึ้น เมื่อของกินอร่อยปากอาจทำให้เสี่ยง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่นำไปสู่ โรคเบาหวาน ได้
คนที่ชอบกินหวาน ชอบกินแป้ง ต้องระวังให้มากขึ้น เมื่อของกินอร่อยปากอาจทำให้เสี่ยง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่นำไปสู่ โรคเบาหวาน ได้
Article
26-07-2024

18