ไข้เลือดออก
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus)
พาหะนำโรค: ยุงลาย
📍 ไข้เลือดออกเกิดขึ้นเมื่อใด?
มักระบาดใน ช่วงฤดูฝน เพราะมีแหล่งน้ำขังซึ่งเป็นที่เพาะพันธุ์ของยุงลาย
👤 ใครบ้างที่เสี่ยง?
สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยแต่พบมากในช่วงอายุ 5–24 ปี
💉 วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
แนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุ 4–60 ปี
🦟 วงจรชีวิตของยุงลาย
❗ อาการของโรคไข้เลือดออก
- ไข้สูง
- ปวดศีรษะ
- ผื่น
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
⚠️ สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์
- กินได้น้อย ปวดท้องมาก
- อาการเลือดออก ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด
- กระสับกระส่าย ซึม มือเท้าเย็น
- ปัสสาวะน้อยลง
💉 การรักษา
1. ระยะไข้ (2–7 วัน)
- เช็ดตัว และกินยาลดไข้ "พาราเซตามอล"
- ห้ามใช้ยาแก้อักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน, แอสไพริน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อย ๆ และบ่อย ๆ
- งดอาหารสีดำ/แดง
2. ระยะวิกฤต (หากมีอาการดังต่อไปนี้)
- กระสับกระส่าย
- ชีพจรเต้นเร็ว
- กินได้น้อย
- ปวดท้อง ตับโต
- ซึมลง
- อาเจียน/ถ่ายเป็นเลือด
- ปัสสาวะออกน้อย
- เกล็ดเลือดต่ำ
หากมีอาการดังข้างต้นแนะนำให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที
3. ระยะฟื้นตัว
- ชีพจรปกติ
- เริ่มรับประทานอาหารได้
- ปัสสาวะออกมากขึ้น
- ผื่นแดงขึ้นที่มือเท้า มีอาการคัน
✅ การป้องกัน: มาตรการ "5 ป 1 ข"
ปิด ฝาภาชนะ
เปลี่ยน น้ำทุกสัปดาห์
ปล่อย ปลากินลูกน้ำ
ปรับ สิ่งแวดล้อม
ปฏิบัติ เป็นประจำ
ขัด ภาชนะที่ยุงวางไข่
อ้างอิง
1. ศ. พญ.วิภา ธนาชาติเวทย์, พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ฉบับย่อ) 2566. นนทบุรี:กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
2. ผศ.พญ.กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ. ‘ไข้เลือดออก’ มหันตภัยร้ายใกล้ตัว. "AEC" กับความท้าทายครั้งใหม่ ในวงการแพทย์และพยาบาล ฉบับที่ 9 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 27 ต.ค. 2567] เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue009/health-station