งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข

งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข
งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข  งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข  งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข  งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข  งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข  งานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์และสาขาสาธารณสุข
 

ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์ และตัวแทนนักศึกษา ร่วมกันต้อนรับคณะผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2565 พร้อมคู่สมรส ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ รับรองผู้ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2565 สาขาการแพทย์ คือ ศ. นพ.ราล์ฟ เอ. ดีฟรอนโซ จากความทุ่มเทในการซึ่งได้เชื่อมโยงองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน ด้านกลไกการเกิดโรค ได้ถูกนำไปพัฒนาและศึกษาต่อยอดจนเกิดแนวทางในการรักษาและป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยและการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังลดลงทั่วโลก ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างมาก ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตผู้ป่วยเบาหวานหลายร้อยล้านคนทั่วโลก ขณะที่ผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลฯ สาขาสาธารณสุข มีจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นพ.ดักลาส อาร์ โลวี และ ดร.จอห์น ที ชิลเลอร์ จากการทำงานร่วมกันในการค้นพบว่าโปรตีนหลักของอนุภาคไวรัสของ ฮิวแมนแปบปิลโลมาไวรัส สามารถประกอบร่างกันได้เองเป็นอนุภาคคล้ายไวรัส (VLP) ซึ่งอนุภาคคล้ายไวรัสนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อต้านฮิวแมนแปบปิลโลมาไวรัสได้ดี ขณะเดียวกัน ศ. นพ.เอียน เอช เฟรเซอร์ ก็ได้ค้นพบกลไกการประกอบร่างของอนุภาคคล้ายไวรัสนี้เช่นกันในระหว่างที่ทำการศึกษาวิจัยที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การค้นพบนี้นำไปสู่การพัฒนากระบวนการผลิตอนุภาคคล้ายไวรัสจากโปรตีนรีคอมบิแนนท์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนต่อต้านฮิวแมนแปบปิลโลมาไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากอนุภาคคล้ายไวรัสเหล่านี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และสามารถนำเสนอลักษณะทางแอนติเจนที่เป็นธรรมชาติต่อระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 ณ ห้องอาหาร Chez Miline ถนนสุโขทัย กรุงเทพฯ