เกี่ยวกับหน่วยงาน

หน่วยวิจัยทางคลินิก: Clinical Research Center

     สำนักงานวิจัยคณะฯ มีหน้าที่หลักในการให้ความสนับสนุนพันธกิจด้านงานวิจัยในด้านสถานที่ บุคลากรช่วยงานวิจัย และเครื่องมือที่ทันสมัย อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศทางด้านงานวิจัย โดยมีหน่วยงานอื่นที่ให้ความสนับสนุนในด้านต่างๆ ได้แก่ กลุ่มงานระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติที่จะให้คำปรึกษางานวิจัยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้บริการปรึกษาด้านชีวสถิติ และหน่วยจริยธรรมการวิจัยในคนที่จะให้บริการปรึกษาการเขียนขออนุมัติการทำวิจัยในคน จากวิสัยทัศน์ของคณะฯ ที่มุ่งเน้นให้การทำวิจัยเป็นพื้นฐานการทำงานในทุกพันธกิจ เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ ทั้งในการปฏิบัติงาน  งานบริการ และการสอน สำนักงานวิจัยคณะฯ จึงมีการพัฒนาทั้งโครงสร้างและงานวิจัยในด้านต่างๆ

อาทิ ด้านงานบริการวิจัย ทางสำนักงานวิจัยคณะฯ ได้เปิดบริการวิจัยทางห้องปฏิบัติการ 4 รายการ คือ 1) การวิเคราะห์ลำดับเบส ของ DNA 2) Gene Scan 3) DNA Purification 4) การวิเคราะห์ปริมาณ Vitamin C ในเลือด

     โดยพบว่าสามารถก่อให้เกิดรายได้ในงานวิจัยและมีการเพิ่มขึ้นของการใช้บริการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการวิเคราะห์ลำดับเบสนั้นพบว่า เพิ่มจาก 499 ตัวอย่างเป็น 6,978 ตัวอย่างภายใน 2 ปี และก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มจาก 107,520 บาทในปี 2548 เป็น 1,473,920 บาทในปี 2550  เนื่องจากความต้องการให้คณะฯ ก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่เป็นจริง สำนักงานวิจัยคณะฯ จึงมีการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ 4 ปีโดยเริ่มในปี 2549 สิ้นสุดในปี 2552  เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการเข้าสู่มาตรฐานสากล โดยมุ่งหวังว่าจะทำการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้ คือ

      1) การพัฒนาบุคลากรให้มีการจำเพาะเจาะจง และเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มากขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการสนับสนุนอาจารย์นักวิจัยได้อย่างจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

      2) การพัฒนาขีดความสามารถด้านเครื่องมือและสถานที่โดยสำนักงานวิจัยคณะฯ ได้มีการพัฒนาการก่อสร้างห้องวิจัยที่ได้มาตรฐาน ทั้งที่เป็น Good laboratory และ Good manufacture practices (GLP และ GMP) ทางด้าน Stem cell  ซึ่งคาดว่าห้องปฏิบัติการดังกล่าวนี้จะเป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรก ๆ ที่สามารถใช้ในการผลิต Cell  ที่มีมาตรฐานพอที่ใช้ในการรักษาโรคในผู้ป่วยได้

      นอกจากนั้น สำนักงานวิจัยคณะฯ ยังมีแผนในการพัฒนาคลังเก็บตัวอย่างผู้ป่วย (Specimen banking) ให้ได้มาตรฐานเพียงพอ และมีระบบในการจัดเก็บที่ทันสมัยเป็นระบบและตรวจสอบได้ โดยมีแผนที่จะพัฒนาทั้งในด้านสถานที่ อุปกรณ์ และระบบให้สามารถใช้งานได้ภายในปี 2551

      3) การพัฒนากลุ่มวิจัยต่าง ๆ ให้เกิดการทำงานร่วมกันของคณะฯ ในกลุ่มวิจัยที่มีความสนใจร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มที่เกิดขึ้นหลายกลุ่ม เช่น

      1. กลุ่มวิจัยด้าน Genomic

      2. กลุ่มวิจัยด้าน Stem cell

      3. กลุ่มวิจัยงานด้าน Biochemistry and Analysis

      4. กลุ่มวิจัยงานด้านมะเร็ง

      5. กลุ่มวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์

           - กลุ่มวิจัยเครื่องตรวจวัดเบาหวาน

           - กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคนิค Microarray

           - กลุ่มวิจัยและพัฒนา Cell culture

           - กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคนิคด้าน Flow cytometry

 

     กลุ่มวิจัยเหล่านี้จะเป็นการพัฒนาทางด้านเทคนิคที่สอดคล้องกับงานด้านคลินิก โดยมีอาจารย์แพทย์ นักวิจัย และนักศึกษาร่วมกันพัฒนา ร่วมกันทำให้เทคนิคมีการพัฒนา ร่วมกันมีการวิจัยทางคลินิก

     นอกจากทางด้านห้องปฏิบัติการแล้วทางด้านระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ ก็มีการให้บริการอย่างเป็นระบบ โดยให้บริการด้าน Research methodology, Data management, Statistical analysis ตลอดจนการเขียน Research proposal เพื่อการขอทุนวิจัย และการเขียนรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์  มีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นโดยปี 2549 จาก 177 คน มาเป็น 244 คนในปี 2550 นอกนั้นยังมีโครงการสอนอาจารย์แพทย์ แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ และแพทย์ประจำบ้านมาตลอดทุกปี  โดยในปี 2550 มีการสอนด้าน Systemic review และ Meta analysis แก่อาจารย์แพทย์  การสอนระบาดวิทยาพื้นฐานและสถิติเบื้องต้นแก่แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์และการสอนพื้นฐานการวิจัยแก่แพทย์ประจำบ้าน 13 ครั้ง

    สำนักงานวิจัยคณะฯ ให้บริการงานด้านการออกเอกสารรับรองโครงการวิจัย โดยในปีงบประมาณ 255 มีผู้ใช้บริการ 1,169 ราย และในอนาคตจะมีการพัฒนาการขออนุมัติโดยทาง Electronic ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโครงการในปี 2551 - 2552