โรคหลายอัตลักษณ์
หน้าแรก
โรคหลายอัตลักษณ์
โรคหลายอัตลักษณ์

โรคหลายอัตลักษณ์ Dissociative Identity Disorder (DID) จัดเป็นอาการป่วยทางจิต ชื่อโรคเดิม “โรคหลายบุคลิกภาพ” Multiple Personality Disorder

ผู้ป่วยจะมีภาวะอาการคือ

มีสองอัตลักษณ์ (identity) หรือมากกว่านั้น สลับกันควบคุม ในแต่ละช่วงขณะของบุคคลนั้น  ๆ

คําว่าหลายอัตลักษณ์นั้น กินความหมายลึกลงไปและแตกต่างกว่าคําว่ามีหลายบุคลิก โดย

  • อาจมีการสูญเสียด้านความทรงจำ จึงแสดงออกแตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น
  • มีการสับสนและไม่ต่อเนื่องในตัวตนของตัวเอง (self-identity) และสร้างการรับรู้กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวผิดปกติ
  • มักเคยมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ อย่างรุนแรง หรือมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก

การรักษาอาการ

  • ใช้จิตบำบัดในระยะยาว
  • สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือ ให้ความเข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่คนไข้เป็น

โรคหลายอัตลักษณ์ อาจมีผู้สับสนกับโรค Bipolar ได้ แต่จริง  ๆ แล้ว เป็นสองโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยโรคไบโพลาร์นั้นเป็น โรคที่มีความผิดปกติของการทำงานในสมอง ทำให้มีภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติไป โดยจะไม่พบความผิดปกติด้านตัวตน (self identity) และจะพบภาวะซึมเศร้าแทรกได้ด้วย โรคไบโพลาร์ใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.วินิทรา แก้วพิลา
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง