โรคมาลาเรีย
หน้าแรก
โรคมาลาเรีย ภัยร้าย พรากชีวิต
โรคมาลาเรีย ภัยร้าย พรากชีวิต

โรคมาลาเรียมี “ยุงก้นปล่อง” เป็นพาหะนําโรค ติดต่อจากคนสู่คนได้ ระบาดง่ายเป็นวงกว้าง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ มักอาศัยอยู่บริเวณชายป่า ชายเขา

ระยะของอาการ

  • ระยะแรก หนาวสั่น ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเกร็ง ปัสสาวะบ่อย อุณหภูมิค่อย ๆ สูงขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 15-60 นาที เป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
  • ระยะร้อน ผู้ป่วยมีไข้สูงถึง 40° ลมหายใจร้อน หน้าแดง ปากซีด และกระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา ระยะนี้ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง
  • ระยะเหงื่อออก เมื่อสร่างไข้ ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะเหงื่อออก และเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเหงื่อออกใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง

วิธีป้องกัน

  • นอนในมุ้ง ระวังอย่าให้ยุงกัด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด
  • ถ้าต้องเข้าไปอยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรีย ควรกินยาป้องกันไว้ล่วงหน้า

วิธีรักษาโรค

  • กินยาตามแพทย์สั่งให้ครบ โดยโรคนี้มี 2 อาการ คือ กินยา 3 วัน และ 14 วัน กินยาให้ครบทุกวันตามแพทย์สั่ง
  • บางกรณีแพทย์อาจฉีดยาเข้ากระแสเลือด เพื่อทำการรักษา

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง