มะเร็งช่องปาก
หน้าแรก
“รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปาก” จะสังเกตได้อย่างไร?
“รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปาก” จะสังเกตได้อย่างไร?

รู้จักกับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งในช่องปาก เพื่อแยกระหว่างแผลทั่วไปและรอยโรคมะเร็งซึ่งเป็นอันตราย รวมถึงวิธีรักษาสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง จากการสังเกตตนเองสม่ำเสมอและพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที โดยมะเร็งในช่องปากเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะอาการเริ่มต้นหรือเป็นไม่มาก ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่างสามารถที่ควบคุมได้

ลักษณะของรอยโรคมะเร็ง

  • ฝ้าสีขาวหรือแดง
  • แผล
  • ก้อนนูน

การเกิดรอยโรคมะเร็งช่องปาก

  • เกิดได้ทุกที่ในช่องปาก ที่พบบ่อย ได้แก่ กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นช่องปากใต้ลิ้น เป็นต้น
  • มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในคนอายุต่ำกว่า 40 ปี พบได้แต่น้อย

ปัจจัยเสี่ยง

สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินหมาก ใส่ฟันปลอมไม่พอดี ขอบฟันคมบาดเป็นแผล

การสังเกตตนเอง

  • หมั่นสังเกตรอยแผลหรือสิ่งผิดปกติในช่องปากขณะทำความสะอาด
  • สังเกตว่าฟันปลอมยังใช้งานได้หรือไม่

การรักษามะเร็งช่องปาก

  • ผ่าตัด/ฉายแสง/ให้เคมีบำบัด
  • สามารถรักษาให้หายได้ถ้าตรวจพบเร็ว

แผลในช่องปาก VS รอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง

  • แผลในช่องปากทั่วไป – มีขนาดเล็ก ลักษณะมักเรียบ ไม่นูนแดง และมักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
  • แผลมะเร็ง – มักมีขนาดใหญ่ ขรุขระ มีขอบนูนแดง และมีเลือดออกง่าย คงอยู่นานไม่หายไป

การป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปาก

  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ไม่เคี้ยวหมาก
  • ใส่ฟันปลอมที่พอดี
  • แปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน
  • สำรวจในช่องปากเสมอว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  • พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีความผิดปกติ

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.ธนพร ทองจูด
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งช่องปาก จะสังเกตได้อย่างไร? : Rama Square ช่วง ปากสวย – โสตใส 5” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง