พาราเซตามอล กินไม่ระวัง ตับพังไม่รู้ตัว
หน้าแรก
พาราเซตามอล กินไม่ระวัง ตับพังไม่รู้ตัว!
พาราเซตามอล กินไม่ระวัง ตับพังไม่รู้ตัว!

“พาราเซตามอล” ยาบรรเทาอาการปวด ใช้ลดไข้ในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ไม่อันตราย ถ้าใช้ถูกต้องและเหมาะสม

วิธีการใช้ยา

  • กินครั้งละ ไม่เกิน 2 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) และวันละไม่เกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) ในผู้ใหญ่ และ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อครั้งในเด็ก
  • สามารถกินซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่เกินขนาดสูงสุดต่อวัน
  • ระวังผู้ป่วยที่มีภาวการณ์ทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อย
  • กรณีลืมยา สามารถกินได้ทันที โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

อาการของการใช้ยาเกินขนาด

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่ออก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส (transaminase) สูงขึ้นแสดงถึงอาการบาดเจ็บของตับ
  • มีอาการตับอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีภาวะแทรกซ้อน หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ปัญหาที่พบจากการใช้ยา

  • ใช้ยาพร่ำเพรื่อ
  • ใช้ยาเกินขนาด
  • ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  • หากมีภาวการณ์ทำงานของตับผิดปกติต้องปรึกษาแพทย์
  • ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอล อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ไม่ควรกินยาหากไม่มีอาการปวดหรือมีไข้

วิธีการเก็บรักษายา

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พ้นแสงแดดและความร้อน
  • เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ

 

ข้อมูลโดย
ภญ.นันทพร เล็กพิทยา
หัวหน้างานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เผยแพร่: กันยายน 2561

บทความที่เกี่ยวข้อง