ไข้หวัด H1N1 ในผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูก
อาการของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1
มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวมาก มีน้ำมูก ไอ จาม เพลียมาก ง่วงนอนตลอดเวลา ทำกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก โดยอาการจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเจ็บคอร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการจะคงอยู่เต็มที่ 1 สัปดาห์ เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ไข้หวัดธรรมดา
มีน้ำมูก มีไข่ต่ำ อาการจะคงอยู่เต็มที่ 2-3 วัน
ความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1
เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัว ต้องระวังมาก ๆ เพราะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1
- เด็กอายุน้อยกว่า 2-5 ปี
- ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป)
- ผู้ป่วยตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ อาทิ มะเร็ง ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไขกระดูก/ปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจ ปอด ตับ ไต อื่น ๆ
ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูกและความเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1
- ได้รับยากดภูมิ
- ภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่เหมือนคนปกติ
- ติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
- หากติดเชื้อโอกาสที่อาการจะรุนแรงมีมาก อาจมีปอดอักเสบหรือติดเชื้อรุนแรง รวมถึงปอดวายได้
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ในผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก
- ใส่หน้ากากอนามัย
- ล้างมือให้บ่อย
การรักษา
- ผู้ป่วยธรรมดาหากตรวจพบว่า ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะได้รับยาต้านไวรัส
- ในกลุ่มเสี่ยงรวมถึงผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูก หากสงสัยว่าติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสทันที โดยไม่ต้องรอผลตรวจว่าติดเชื้อหรือไม่
ข้อมูลโดย
ผศ. นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์
สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล