08 โรคข้อเข่าเสื่อม อ.กุลพัชร edit 17.11.64 (15.12.64)-01.001
หน้าแรก
โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อต่อ เกิดการเสื่อมสภาพ โดยเป็นผิวข้อขรุขระ ไม่เรียบ มีความหนาของกระดูกอ่อนผิวข้อลดลงจากปกติ 

 

วิธีสังเกตอาการข้อเข่าเสื่อมในเบื้องต้น

  • มีเสียงดังร่วมกับอาการเจ็บเข่าขณะขยับ ตรวจสอบง่าย ๆ ด้วยการใช้มือจับที่เข่าแล้วลองเหยียดเข่าดู หากมีอาการข้อเข่าเสื่อม จะรู้สึกว่ามีการเสียดสีกันเหมือนเป็นกระดาษทราย แต่หากมีเสียงก๊อกแก๊ก แต่ไม่รู้สึกถึงการเสียดสี อาจเกิดจากพังผืดในข้อเข่าก็เป็นได้
  • อาการปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม สังเกตได้โดยการทดลองนั่งยอง ๆ ลงกับพื้นหรือนั่งขัดสมาธิ หากลุกขึ้นยืนหรือเหยียดขาแล้ว มีอาการปวด เจ็บ เสียวในเข่า ก็ถือเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน
  • อาการข้อติด เมื่อนั่งหรือนอนนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืนหรือเหยียดเข่าได้ยาก ถือเป็นอาการต้องสงสัยของโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากผิวข้อไม่เรียบ จึงต้องการความยืดหยุ่น เมื่อมีน้ำในเข่าไหลเวียนเข้ามา ก็จะค่อย ๆ เดินและยืดเหยียดได้ดีขึ้น
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากข้อต่อที่มีการขยับเยอะ ต้องทำงานเยอะ ทำให้มีโอกาสเสื่อมได้เยอะขึ้น ยิ่งอายุมากโอกาสที่ข้อจะเสื่อมก็มีมากขึ้นตามไปด้วย

 

หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อม ควรดูแลร่างกายอย่างไร

  • คุมน้ำหนัก ไม่ให้ดัชนีมวลกายสูงเกินกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยคำนวณด้วยสูตรง่าย ๆ คือ ใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) เป็นตัวตั้ง แล้วหารความสูงยกกำลังสอง (เมตร)
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้เข่ามาก ทั้งการย่อและงอเข่ามาก ๆ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่านาน ๆ เพราะเมื่อลุกขึ้นยืน น้ำหนักจะไปกดที่ผิวข้อ ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมากยิ่งขึ้น
  • บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า เนื่องจากโดยธรรมชาติคนเป็นข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการเจ็บ ทำให้ไม่อยากเดิน ไม่อยากออกกำลังกาย ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อจะเริ่มฝ่อลง ทำให้การยุงของรอบข้อแย่ลง ส่งผลให้น้ำหนักยิ่งไปลงที่ข้อเข่ามากขึ้น ดังนั้น วิธีการบริหารข้อเข่าง่าย ๆ ก็คือการนั่งเหยียดเข่า แล้วเกร็งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที สลับกันทั้งซ้ายและขวา วันละ 70-100 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ