อาการปวดท้องในเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อยู่บ้าง ผู้ปกครองควรสังเกตว่าลูกปวดท้องแบบไหนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน ได้แก่
- ท้องผูก กดเจ็บท้องส่วนล่าง อาจคลำพบก้อนอุจจาระบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย
- ท้องเสีย มีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย
- โรคกระเพาะ มักมีอาการเมื่อใกล้เวลาอาหาร
- มีลมในช่องท้องมาก มีอาการท้องอืด จุกเสียด ร่วมด้วย
- ความเครียด พบในเด็กอายุ 5-13 ปี ซึ่งมักมีปัญหาจากทางบ้านหรือโรงเรียน
- ไส้ติ่งอักเสบ (อันตรายถึงชีวิต) พบในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี มีอาการปวดรุนแรง อาเจียน ไข้สูง และกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านขวา
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากอาการปวดท้องไม่มาก สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น โดยให้ทานตามปริมาณที่ฉลากแนะนำ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้องควบคู่กับการให้คำแนะนำเรื่องการปรับพฤติกรรมการกิน การดูแลตัวเองเมื่ออาการกำเริบเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและอาการรุนแรงขึ้น เน้นให้เด็กคิดถึงผลเสียด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ เวลาเรียน และผลการเรียน ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมอย่างจริงจังจะส่งผลเสียต่อตัวเองในอนาคต แต่หากมีไข้สูงร่วมด้วย และกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านขวา ควรส่งต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน ห้ามใช้ยาแก้ปวดเด็ดขาด
ข้อมูลโดย
อ. พญ.สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์
สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล