แผลฉีกขาด ดูแลอย่างไร ?
แผลฉีกขาด ประเภทที่ 1
- แผ่นหนังมีความสมบูรณ์
- หายได้หากมีการแทนที่ของแผ่นหนังที่หายไป
- จำเป็นต้องพันแผลด้วยผ้าปิดแผล
แผลฉีกขาด ประเภทที่ 2
- แผ่นหนังเสียหาย ปิดไม่สนิท
- แผ่นหนังจะปิดไม่ถึงขอบแผล
- รักษาได้แต่ใช้เวลานาน
แผลฉีกขาด ประเภทที่ 3
- แผ่นหนังหายไปหมด
- ใช้ระยะเวลารักษานานที่สุด
- เน้นการรักษาความสะอาดและป้องกันไม่ให้เสียหายเพิ่ม
3 วิธีป้องกัน
ดูแลผิวให้ชุ่มขึ้น
- ผิวแห้ง อาจทำให้แผลฉีกขาดได้
- ทาครีมบำรุง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
- แผลฉีกขาดเป็นเรื่องปกติในผู้สูงอายุ
- ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดบาดแผล
สวมชุดป้องกัน
- ปกคลุมผิวบอบบางด้วยเสื้อผ้า
วิธีรักษา
- แผลมีเลือดออก ออกแรงกดและยกขึ้นให้มากที่สุด
- ล้างผิวที่ฉีกขาด ล้างด้วยน้ำประปาหรือน้ำเกลือ
- ปล่อยให้แห้ง ปล่อยให้โดนอากาศจนแห้งหรือซับ ห้ามถู
- ใช้ผ้าพันแผล ปิดแผลที่ฉีกขาดด้วยผ้าพันแผล
ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.พงศศิษฏ์ สิงหทัศน์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤตศัลยกรรม
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล