โรคลมแดด เกิดจากร่างกายของเรานั้นปรับเข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนได้ไม่ดีพอ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงมากกว่า 40-41 องศาเซลเซียสซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้
กลุ่มเสี่ยง
- เด็กเล็ก
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
- ผู้ทำงานในที่ร้อนชื้น
- ผู้ขับขี่รถโดยสารประจำทาง แบบไม่มีระบบปรับอากาศ
- ผู้ที่เป้นความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง หักโหม
- ผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์
- ทหารที่ไม่ได้เตรียมพร้อมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก
อาการ
- อากาศร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก
- กระหายน้ำมาก
- ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ
- หายใจเร็ว
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
- ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- เห็นภาพหลอน
- ความดันต่ำ
การป้องกัน
- สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
- เตรียมพร้อมร่างกายก่อนทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้แพ้
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
การช่วยเหลือเบื้องต้น
- นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก คลายเสื้อผ้าออกให้ผ่อนคลาย
- ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสู้งทั้ง 2 ข้างใช้ผ้าชุบน้ำหรือน้ำแข็งประคบตามตัว ซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ นำพัดลมมาเป่าระบายความร้อน
- รีบนำส่งโรงพยาบาล
ข้อมูลจาก
อ. ดร. นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร
กลุ่มสาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวะสถิติ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล