ต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบติดเชื้อ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
- การสัมผัสตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
- การใส่คอนแทคเลนส์
- การมีโรคเปลือกตาอักเสบเดิม
- การใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาด หรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
- เคยมีประวัติเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
- ภาวะที่ภูมิคุ้นกันของร่างกายลดลง เช่น เบาหวาน
การรักษา ตากุ้งยิง
ส่วนใหญ่ตากุ้งยิงมักหายเองได้ โดยอาจดูแลตนเอง ดังนี้
- ประคบอุ่นที่เปลือกตา 5-10 นาที วันละ 3-5 ครั้ง
- ล้างมือและล้างหน้าบ่อย ๆให้สะอาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเปลือกตาส่วนที่เป็นตากุ้งยิง
- ไม่บีบหรือกดระบายหนองจากตากุ้งยิงเอง
หากไม่ดีขึ้นควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติมด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการเจาะระบายหนองจากตากุ้งยิง
ข้อมูลโดย
รศ. พญ.เกวลิน เลขานนท์
สาขาวิชากระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาฯ
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตาม Rama Channel เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่
Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Youtube: RAMA Channel
Facebook: รามาแชนแนล Rama Channel
LINE: Ramathibodi
Tiktok: ramachanneltv รามาแชนแนล ช่องของคนรักสุขภาพ
Youtube: RAMA Channel
Facebook: รามาแชนแนล Rama Channel
LINE: Ramathibodi
Tiktok: ramachanneltv รามาแชนแนล ช่องของคนรักสุขภาพ