ตัดสายสะดือช้าลง
หน้าแรก
ตัดสายสะดือช้าลง เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
ตัดสายสะดือช้าลง เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

การตัดสายสะดือหลังคลอด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ โดยแต่ก่อนนั้นจะมีการตัดสายสะดือที่ค่อนข้างรวดเร็ว เพื่อทำคลอดรกที่รวดเร็วตามลำดับ ช่วยป้องกันการตกเลือดและลดปัจจัยการเสียชีวิตของแม่ แต่ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ปรับเปลี่ยนการตัดสายสะดือให้ช้าลงกว่าเดิม เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก จากการได้รับเลือดที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีหลายประการด้วยกัน

ความสำคัญของการตัดสายสะดือ

เชื่อมระหว่างรกกับสะดือเด็ก ทำหน้าที่เชื่อมโยงการไหลเวียนของเลือดในตัวเด็กและทางรก รวมถึงการส่งผ่านเลือดและสารอาหารต่าง  ๆ ในเลือดระหว่างรกกับตัวเด็ก

ความสำคัญของการตักสายสะดือช้าลง

การตัดสายสะดือช้าออกไป 30 วินาทีถึง 3 นาที เด็กจะได้รับเลือดค่อนข้างมากจึงป้องกันภาวะซีดได้ ยิ่งถ้าเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด ย่อมมีภาวะซีดอยู่แล้ว จึงได้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งยังทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและปอดเด็กได้มากขึ้น จึงได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและปิดมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ช่วยป้องกันเลือดออกในโพรงสมองได้ถึงร้อยละ 55

ปริมาณเลือดที่เด็กได้รับผ่านทางสายสะดือ

  • เด็กแรกคลอด เลือดส่งมาจากรกร้อยละ 33 ทำให้เลือดของทางรกเพิ่มเป็นร้อยละ 67
  • ใน 1 นาที เลือดลดลงจากรกร้อยละ 20 ทำให้เด็กได้รับเลือดเพิ่มเป็นร้อยละ 80
  • ช่วงตัดสายสะดือ หลัง 1 นาที ทารกได้รับเลือดร้อยละ 87

ข้อดีของการตัดสายสะดือช้าลง

  • ลดเลือดออกในสมอง
  • ลดลำไส้เน่า
  • ลดอุบัติการณ์ที่จะต้องให้เลือดหลังคลอด
  • ลกภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

ข้อเสียของการตัดสายสะดือช้าลง

  • การที่เลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เด็กเกิดภาวะดีซ่านได้
  • เมื่อเกิดภาวะตัวเหลือง ทารกต้องได้รับการส่องไฟ

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ
สาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ตัดสายสะดือช้าลง เพื่อสุขภาพที่ดีของทารก : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง