โรคความดันเลือดสูง
หน้าแรก
รู้แล้วรอดโรค ความดันเลือดสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
รู้แล้วรอดโรค ความดันเลือดสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็นวันความดันเลือดสูงโลก (World Hypertension Day) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้ตื่นตัว และตระหนัก เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคความดันเลือดสูง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คร่าชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก

โรคความดันเลือดสูงคือ

สภาวะของระดับความดันเลือดที่สูงกว่าระดับปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติจะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงจะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องได้รับการควบคุมตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนและโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไตเสื่อม เป็นต้น

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ความน่ากลัวของโรคความดันเลือดสูงคือผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 90-95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ทำให้โรคความดันเลือดสูงถูกขนานนามว่า “โรคเพชฌฆาตเงียบ” โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันเลือดสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไปหรือวัยหมดประจำเดือน

วิธีรักษา

แม้โรคความดันเลือดสูงจะเป็นโรคที่อันตราย แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ในระยะยาวหากได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยเบื้องต้นจะรักษาด้วยวิธีการให้ยาลดความดันเลือด เพื่อรักษาระดับความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

สิ่งที่ควรทำ

  • หมั่นตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • รับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังเป็นประจำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน ของหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดไต
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีโอกาสเป็นโรคความดันเลือดสูงถึงร้อยละ 50
  • กินอาหารที่มีรสเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ นํ้าปลา ของหมักดอง
  • กินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน หนังสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม อาหารประเภทผัดหรือทอด
  • กินอาหารที่มีรสหวาน หรือน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน

 

ข้อมูลโดย
ผศ. นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคความดันโลหิตสูง : รายการ Three Minutes Talk ep.11” ได้ที่นี่

คลิกชมคลิปรายการ “Heart Story EP.2 | โรคความดันโลหิตสูง” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5