COVID-19
หน้าแรก
วิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่มีความเสี่ยง VS บุคคลทั่วไป ให้ปลอดภัยจาก COVID-19
วิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่มีความเสี่ยง VS บุคคลทั่วไป ให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย COVID-19 ควรเฝ้าระวังอาการตัวเองด้วยการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อสู่สังคมได้ จากข้อมูลสิถิติทั่วโลก ณ ปัจจุบัน COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 3% ซึ่งตัวเลขนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือเราต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและคนรอบข้าง ซึ่งวันนี้เรามีวิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่มีความเสี่ยง และบุคคลทั่วไปมาฝาก เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยไปพร้อมกันดังนี้

วิธีกักตัวสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง

  1. อย่าออกจากบ้าน งดไปโรงเรียนหรือที่ทำงาน และอย่าให้ใครมาเยี่ยม
  2. ทิ้งระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
  3. แยกห้องนอน หมอน ผ้าห่ม
  4. แยกห้องน้ำ/หากใช้ห้องน้ำรวม ให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดหลังใช้ทันที
  5. ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกล้าง/แยกเก็บ ช้อน ส้อม จาน ชาม และของใช้ส่วนตัว
  6. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง เพราะเชื้อไวรัสอาจไปติดบนขนสัตว์ ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปที่อื่น
  7. หากสั่งของออนไลน์ ให้คนส่งของวางของไว้ที่หน้าบ้าน อย่าออกไปรับของจากมือโดยตรง
  8. สังเกตตัวเองว่ามีอาการ ไข้ ไอ หอบ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อย หรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ ให้ใส่หน้ากากอนามัยและไปพบแพทย์
  9. ทำความสะอาดบ้าน/สถานที่กักตัว ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ขายตามร้านค้าทั่วไป
  10. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ออกกำลังกายในที่พัก พักผ่อนให้เพียงพอ อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ

วิธีป้องกัน COVID-19 สำหรับคนทั่วไป

  1. เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  2. เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือประเทศที่มีการระบาด
  3. ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี
  4. ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
  5. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  6. ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
  7. เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  8. ทานอาหารสุก สะอาด และใช้ช้อนกลาง
  9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัยเพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
และอ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


อ่านเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

เปิดไทม์ไลน์และวิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

RAMA Square เฝ้าระวัง ป้องกัน COVID-19 05/03/63 l RAMA CHANNEL

พบหมอรามาฯ ไวรัสโควิด-19 แพร่เชื้อผ่าน ธนบัตรได้ , ภูมิปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ สู่การพยาบาลแบบผสมผสาน เพื่อดูแลแบบประคับประคองในการบำบัด 11/03/63 l RAMA CHANNEL

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5