14241605_1781106615438898_8940214613121224077_o
หน้าแรก
รู้จัก “GHB” ยาเสียหนุ่ม เสียสาว
รู้จัก “GHB” ยาเสียหนุ่ม เสียสาว

GHB หรือชื่อเต็มๆ คือ gamma-Hydroxybutyric (แกมมา ไฮดรอกซี บูเทอริก) ในชื่อภาษาไทยเรา มักจะเรียกว่า “ยาเสียสาว” หรือตอนนี้อาจจะต้องเพิ่มว่าเป็น “ยาเสียหนุ่ม” ด้วย ยาชนิดนี้มีผลออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกตื่นตัว รู้สึกสนุก รวมถึงการที่อยากมีเพศสัมพันธ์ด้วย ปัจจุบันพบการระบาดใช้ในสถานบันเทิงต่างๆ มากมาย

ในทางการแพทย์เราใช้ยาชนิดนี้อยู่บ้างในการวางสลบ การผ่าตัด การทำคลอด รักษาโรคบางโรค เช่น โรคง่วงหลับ โรคพิษสุราเรื้อรัง มีการควบคุมการใช้ที่เข้มงวดโดยแพทย์ แต่ยาตัวนี้ถูกถอนออกจากบัญชียาตั้ง แต่ปี 2533 แล้ว

ยา GHB มีทั้งชนิดเม็ด ชนิดผง หรือชนิดเหลว

ที่นิยมใช้กันจะเป็นลักษณะเหลวใส เพราะใช้ง่าย มีรสเค็มเล็กน้อยกลมกลืนกับเครื่องดื่ม ในตลาดมืดจะเรียกว่า Liquid X หรือ Liquid E สามารถผสมกับเครื่องดื่มได้โดยที่เราไม่รู้ว่ามีส่วนผสมของยาชนิดนี้อยู่

อาการเมื่อเราโดนยา GHB

จะแตกต่างกันไปตามขนาดยาที่ได้รับ หากได้รับปริมาณมากๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ ผลอาการจากยา GHB ที่พอจะสรุปได้ มีดังนี้

  1. หากได้รับปริมาณยาไม่มาก ช่วง 5-10 นาทีแรก จะมีอาการมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เคลื่อนไหวลำบาก
  2. หากได้รับปริมาณยาขนาดสูง อาจทำให้เกิดการกดการทำงานของสมอง กดการทำงานของระบบหายใจ หมดสติ หรือเกิดการเสียชีวิตได้
  3. หากได้รับร่วมกับยาเสพติดอื่นๆ หรือแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้เกิดผลเสียที่มากกว่าหลายเท่า

การป้องกันและหลีกเลี่ยง มีดังนี้

  1. การป้องกันทำได้ยาก เพราะเราจะสังเกตยากว่ามีส่วนผสมของยา GHB หรือไม่ในเครื่องดื่ม
  2. ไม่ไปสถานบันเทิงคนเดียว ควรมีเพื่อนที่ไว้ใจได้ไปด้วย
  3. ดื่มแอลกอฮอล์ให้พอดี เพื่อให้มีสติ ไม่เกิดอาการมึนเมา
  4. ไม่รับเครื่องดื่มจากคนที่เราไม่รู้จัก
  5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มอย่างรวดเร็ว หากเราดื่มทีละน้อย จะสังเกตตัวเองได้ว่าเกิดอะไรผิดปกติหรือไม่
  6. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกันกับผู้อื่น
  7. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่อยู่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เพราะภาชนะแบบนี้สามารถใส่ส่วนผสมเช่น ยาอันตราย ลงไป ได้ง่าย
  8. ไม่ควรละสายตาจากเครื่องดื่มของตัวเอง

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update เตือนภัยผู้หญิงระวังถูกมอมด้วย จีเอชบี” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

0

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5