ปวดข้อยุงลาย
หน้าแรก
รู้จักกับโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
รู้จักกับโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

เป็นที่ทราบกันดีว่ายุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก โรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทำให้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันยุงลาย นอกจากไข้เลือดออกแล้วยุงลายยังสามารถนำโรคอื่นได้อีก เรามาทำความรู้จักกับ “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคเช่นกัน

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย คืออะไร?

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เรียกอีกอย่างว่า “โรคชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อไวรัส เคยระบาดในหลายพื้นที่ ทั้งยังเคยระบาดในประเทศไทยเมื่อ 10 ปีก่อนทางภาคใต้ พบโรคครั้งแรกที่แอฟริกา โดยชื่อชิคุนกุนยานั้นเป็นภาษาแอฟริกาที่หมายถึงเดินจนตัวงอ เพราะโรคนี้มีอาการเด่นคือปวดข้อมากจนทำให้เดินตัวงอ

อาการของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ผู้ที่ติดเชื้ออาจมีไข้สูง อาการเด่นของโรคคืออาการปวดข้อมาก บางรายอาจปวดมากจนข้อบวม อาจมีอาการตาแดงและผื่นแดงตามตัวร่วมด้วย แต่ไม่ทำให้มีอาการช็อคเหมือนไข้เลือดออก ระยะเวลาของอาการปวดข้อแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายเมื่อหายไข้ก็หายปวด แต่บางรายอาจปวดต่อไป สามารถปวดข้อได้นานที่สุดถึง 1 ปี ข้อที่มักปวดคือ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ

ระยะฟักตัวของไวรัสชิคุนกุนยา

หลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด ใช้เวลาฟักตัว 3-7 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ขึ้นสูงมาก อ่อนเพลีย แล้วอีก 2-5 วันหลังไข้ขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการปวดข้อ และผื่นมักเกิดหลังมีไข้แล้ว 3 วัน

อาการแทรกซ้อนโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

มีโอกาสทำให้เกิดอาการสมองอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ แต่โอกาสเกิดน้อยมาก

การป้องกัน

  • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค
  • ป้องกันโดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

การรักษา

การรักษาโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นการรักษาตามอาการ หากปวดข้อ รักษาโดยการกินยาแก้ปวด หากมีไข้ผู้ป่วยจะได้รับยาลดไข้

 

ข้อมูลโดย
ผศ. ดร. นพ.นพพร อภิวัฒนากุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย อีกหนึ่งโรคน่ากลัวที่มียุงลายเป็นพาหะ : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

3

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1