food-mareng
หน้าแรก
การจำกัดอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง ส่งผลร้ายมากกว่าดี
การจำกัดอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง ส่งผลร้ายมากกว่าดี

ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายคนอาจเกิดการกังวลในการเลือกรับประทานอาหาร หากกินเข้าไปก็กลัวว่าจะเกิดปัญหาต่อร่างกายจากโรคที่เป็นอยู่จนทำให้ต้องการเลือกกินมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการเลือกกินอาหารเพียงบางชนิดนั้นส่งผลเสียมากกว่าทำให้เกิด “ภาวะทุพโภชนาการ”

“ภาวะทุพโภชนาการ” หรือ ภาวะซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน

ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค สาเหตุมาจากตัวมะเร็งที่กระตุ้นให้มีการสร้างสารที่ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบและการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานและการเผาผลาญสารอาหารต่างๆมากมาย เช่น การเพิ่มการใช้พลังงาน หรือการสลายสารอาหารต่างๆในร่างกาย และยังทำให้ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรู้สึกเบื่ออาหารอีกด้วย

เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารในปริมาณ ชนิด และสัดส่วนที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างมาก สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ตลอดจนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่าการจำกัดอาหารจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการจึงแนะนำให้รับประทานปริมาณอาหารเท่ากับความต้องการของคนปกติ

โปรตีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกายช่วยทำให้ผู้ป่วยแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย และไม่ติดเชื้อง่าย การเติบโตของมะเร็งขึ้นอยู่กับปริมาณของโปรตีนที่การบริโภคเพียงบางส่วน แม้ว่าจะจำกัดปริมาณโปรตีนที่บริโภค มะเร็งก็ยังเจริญเติบโตได้โดยสลายโปรตีนในร่างกายผู้ป่วยมาใช้ ซึ่งผลเสียจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทำให้เจ็บป่วยง่าย ไม่มีแรง และไม่สามารถรับการรักษาทั้งเคมีบำบัด และการฉายแสงได้ตามกำหนด

จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าคนปกติ เนื้อสัตว์ ไข่และนมเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงแนะนำให้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารปรุงสุกและเลี่ยงการประกอบอาหารด้วยการปิ้งย่าง แม้ว่าจะมีข้อมูลว่าการบริโภคเนื้อแดง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ แต่เนื่องจากมีธาตุเหล็กสูงจึงแนะนำให้บริโภคได้บ้างในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซีด

ทั้งนี้ ข้าว แป้ง และน้ำตาลเป็นหมวดอาหารที่ให้พลังงานหลักและควรบริโภคให้เพียงพอ เนื่องจากหากขาดสารอาหารหมวดนี้จะทำให้ภาวะทุพโภชนาการรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

ส่วนไขมันก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันเพราะให้พลังงานสูงแต่ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวจำพวกไขมันสัตว์ กะทิ เนย และนม ด้านผักและผลไม้เป็นแหล่งวิตามินเกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระและกากใยอาหารที่สำคัญซึ่งควรรับประทานให้หลากหลายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.กุลพงษ์ ชัยนาม
ภาควิชาอายุรศาสตร์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama” จริงหรือ ผู้ป่วยมะเร็งกินได้แค่ปลา-ผัก

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5