08-01
หน้าแรก
โรคกระดูกคอเสื่อม
โรคกระดูกคอเสื่อม

โรคกระดูกคอเสื่อม นับเป็นอีกหนึ่งโรคของการเจ็บปวดของกระดูกที่พบได้มากในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญคือ เมื่ออายุมากขึ้น ข้อต่อต่าง ๆ ระหว่างกระดูกคอแต่ละปล้อง ที่ได้รับแรงกระแทกมานาน มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไป เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังที่มีส่วนประกอบของน้ำ เปลี่ยนจาก 88% ในเด็ก เป็น 70% ในคนอายุ 72 ปี ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังยุบลง (คนอายุมากจึงเตี้ยลงกว่าเดิม) และมีความยืดหยุ่นลดลง ส่งผลให้ส่วนอื่นที่อยู่รอบข้างต้องรับแรงกระแทกมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงมีหินปูนมาเกาะกระดูกและเอ็นพังผืดต่าง ๆ ทำให้หนาตัวขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ มักเกิดตรงบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวมาก คือที่ หลังคอ และ หลังเอว เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนขึ้นไป ก็มักจะมีการเสื่อมที่กระดูกสันหลังขึ้นได้ จากภาพรังสีของคนทั่วไปพบว่า คนอายุ 50 ปี จำนวนร้อยละ 50 จะมีอาการกระดูกคอเสื่อม และคนอายุ 65 ปี พบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75-85

ทุกคนคงเคยมีอาการปวดคอ ซึ่งส่วนมากเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ เกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก ซึ่งมักไม่รุนแรงและหายไปเองได้ แต่ไม่แน่ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากกระดูกคอเสื่อมก็ได้ เมื่ออายุมาก ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทุกคน

ลักษณะอาการของโรคกระดูกคอเสื่อมเมื่อเกิดขึ้น หินปูนที่เกาะกระดูกและเอ็นจะไปกดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการ

ปวดคอร้าวไปยังแขนและเกิดอาการชาที่แขน มักปวดหลังคอบริเวณ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง อาจปวดร้าวขึ้นไปถึงท้ายทอย หรือ ลงมาบริเวณสะบัก และปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง ถ้าไม่มีการปวดร้าวมาที่แขน แสดงว่ายังไม่มีการกดเส้นประสาท แต่จะปวดกระดูกและข้อต่าง ๆ ในกระดูกสันหลัง ซึ่งมีการเสื่อมสภาพไป

ถ้ามีการกดเส้นประสาทใด จะมีอาการปวดร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทถูกกด อาการนี้มักจะเป็น ๆ หาย ๆ แบบเรื้อรัง

โดยระดับกระดูกคอที่มีการเสื่อมบ่อยมาก คือ

กระดูกข้อที่ 5-6และข้อที่ 6-7

อาการ คือ

ปวดหลังคอร้าวไปยังแขนตรงกล้ามเนื้องอแขน และอาจปวดร้าวไปถึงแขนท่อนล่าง จนถึงนิ้วโป้งและนิ้วชี้ และอาการเส้นประสาทคอเส้นที่ 7 ถูกกด คือปวดหลังคอร้าวไปด้านหลังของไหล่ ไปหลังแขนตรงกล้ามเนื้อเหยียดแขน และอาจปวดร้าวไปถึงด้านหลังของแขนท่อนล่าง จนถึงนิ้วกลาง ถ้ามีการกดประสาทไขสันหลังขึ้น จะมีอาการแบบค่อย ๆ อ่อนแรงลงเรื่อย ๆ

โดยจะเป็นแบบนี้เรื้อรังหลายปี และจะลุกลามจนกระทั่งเดินไม่ได้เลยทีเดียว แต่ในระยะเริ่มต้นมักมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น

เดินไม่คล่อง ทำของหล่นจากมือบ่อย ๆ เมื่อเป็นมากขึ้น จะเดินขากาง โน้มตัวไปข้างหน้า ในที่สุดก็จะเดินไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น กลัดกระดุมเสื้อไม่ได้ เขียนหนังสือลายมือไม่เหมือนเดิม ซึ่งเมื่อทำการตรวจร่างกาย ก็จะพบกล้ามเนื้อมือลีบลงและอ่อนแรงลง กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง มีอาการปวดแบบไฟฟ้าช็อตหรือชาไปกลางหลังเวลาก้มคอ

สำหรับการวินิจฉัยเพื่อรักษานั้น

เมื่อคนอายุมากส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกคอที่เห็นได้จากภาพรังสี แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการ ดังนั้น การวินิจฉัยโรคนี้ต้องซักประวัติและตรวจร่างกายให้ละเอียด อาการทุกอย่างต้องเข้าได้กับภาพทางรังสี และภาพทางคอมพิวเตอร์แม่เหล็ก (MRI)

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8