บทความรามา ม.ค._๑๗๑๒๒๗_0002
หน้าแรก
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุความพิการของเด็กในครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุความพิการของเด็กในครรภ์

สิ่งที่คุณแม่กังวลเมื่อตั้งครรภ์หนีไม่พ้นเรื่องของภาวะเสี่ยงที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องทำการฝากครรภ์เพื่อเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงภาวะเบาะหวานขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์โดยตรง ร้ายแรงที่สุดยังอาจส่งผลให้เด็กพิการและเสียชีวิตได้ด้วย

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อย

คุณแม่จึงจำเป็นต้องฝากครรภ์เพื่อเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าว โดยแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ฝากครรภ์ในครั้งแรก โดยการเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล หลังจากนั้น 7 เดือน แพทย์จะทำการตรวจสอบความสามารถของร่างกายในการจัดการน้ำตาลว่าปกติหรือไม่ โดยในคนปกติหากไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวานแต่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังกล่าว เมื่อตั้งครรภ์มักแสดงอาการออกมา เนื่องจากในคนตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้เป็นกลไกของร่างกายที่ต้องการส่งน้ำตาลไปยังเด็กในครรภ์ เพื่อการเจริญเติบโต แต่ในคนที่มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน หากตั้งครรภ์อาจเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง

หากเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลให้

เด็กในครรภ์เกิดภาวะหัวใจพิการได้ หรือถ้าหากทารกในครรภ์ได้รับน้ำตาลมากเกินไปอาจเกิดภาวะอ้วน ซึ่งส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรงและตัวแม่เด็กขณะคลอด เด็กอาจเสียชีวิตได้จากภาวะอ้วน เนื่องจากร่างกายของทารกมีการผลิตสารอินซูลินมากเกินไปเพื่อมาจัดการกับน้ำตาล แต่เมื่อเด็กคลอดแล้วสายสะดือถูกตัดออก จะทำให้เด็กไม่ได้รับน้ำตาลแบบกระทันหัน ขณะที่อินซูลินยังคงค้างอยู่ในร่างกายจำนวนมาก จึงทำให้เกิดภาวะไฮโปไกลซีเมีย รวมถึงเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และเสียชีวิตได้ กรณีที่เด็กเกิดมาแล้วมีภาวะอ้วนด้วยน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม จะต้องมีการนำไปดูแลเป็นพิเศษ

การควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์กรณีที่พบความผิดปกติ

ขั้นตอนแรกแพทย์จะให้โภชนากรมาให้ความรู้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ถึงเรื่องอาหารการกิน เพื่อควบคุมภาวะเบาหวานไม่ให้น้ำตาลสูงเกินไป จากนั้นจะให้คุณแม่ติดตามและบันทึกผลระดับน้ำตาลก่อนอาหารและหลังอาหารตามช่วงเวลาที่กำหนด และถ้าหากพบว่าระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แพทย์จะทำการฉีดอินซูลินและปรับการใช้ยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เป็นอันตรายต่อตัวทารกในครรภ์ แต่ถ้าหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ก็จะใช้วิธีควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว

อาหารที่ควรรับประทานในคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ

อาหารทั่วไป แต่ไม่ควรทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงของทอด เน้นผักผลไม้เป็นสำคัญ

นอกจากภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์แล้ว ภาวะเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ก็เป็นอันตรายเช่นกันและมีความอันตรายสูงกว่า เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจพิการในตัวเด็กค่อนข้างมาก หากป่วยเป็นเบาหวานแล้วมีแผนที่จะตั้งครรภ์ คุณแม่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีเสียก่อน

โดยปกติผู้ป่วยเบาหวานหากตั้งครรภ์และทำการฝากครรภ์ในครั้งแรก แพทย์มักให้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำตาล รวมถึงจะต้องมีการปรับการใช้ยาใหม่ เนื่องจากยาที่เคยใช้อาจควบคุมระดับน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ได้ไม่ดีพอ

กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ได้แก่ คนที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน, คนที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก, คนที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ และคุณแม่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาก ๆ

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ธวัช เจตน์สว่างศรี
ภาควิชาสูติศาสตร์- นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Kid D Live | ปัญหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5