โปรตีนรั่ว
หน้าแรก
อาการโปรตีนรั่ว โรคไตอักเสบที่ต้องระวัง
อาการโปรตีนรั่ว โรคไตอักเสบที่ต้องระวัง

อาการโปรตีนรั่ว ทำให้ผู้ป่วยตัวบวมผิดปกติ และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนทั่วไป จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยภาวะดังกล่าวยังส่งสัญญาณถึงการอักเสบของไต นำไปสู่ภาวะไตวายในอนาคตได้อีกด้วย

อาการโปรตีนรั่ว หรือเรียกว่า “เนฟโฟรติก” เป็นสัญญาณที่แสดงถึงโรคไตอักเสบ มีการขับโปรตีนชนิดที่เรียกว่าอัลบูมินออกมาทางปัสสาวะมากเกินไป ทำให้เกิดอาการตัวบวมตามมา และจะพบมากในเด็ก ซึ่งอาการบวมที่เกิดจากโปรตีนรั่วจำเป็นต้องได้รับการรักษา

อาการเนฟโฟรติกคือ

ความผิดปกติของไตที่ยังสามารถกรองของเสียได้อยู่ เพียงแต่มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นให้ดูปริมาณปัสสาวะว่ามีความเปลี่ยนแปลง หรือมีฟองมากขึ้นหรือไม่ ที่สำคัญคืออาการบวมของร่างกาย หากปัสสาวะมีความผิดปกติเกิดขึ้นสัมพันธ์กับอาการบวม อาจเป็นสัญญาณของอาการโปรตีนรั่วได้ ในส่วนของสีปัสสาวะที่เปลี่ยนไปในทางสีเข้มขึ้น พบว่าไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ส่วนในรายที่มีความเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ คาดว่าเกิดจากภาวะน้ำในหลอดเลือดลดน้อยลง จึงทำให้สีของปัสสาวะนั้นเข้มขึ้น

สาเหตุของอาการโปรตีนรั่ว

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ในผู้ป่วยบางรายพบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และในส่วนของอาการแทรกซ้อนจากอาการโปรตีนรั่ว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การแทรกซ้อนจากตัวโรคเองและการแทรกซ้อนจากการรักษา

  • การแทรกซ้อนจากตัวโรคเอง อาจเกิดจากการไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเกิดในผู้ป่วยที่ขาดการรักษาไปเป็นเวลานาน อาจทำให้ไตวายได้ในอนาคต หรืออาจมีภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่ายกว่าปกติ เนื่องจากภาวะโปรตีนรั่ว ส่งผลให้เลือดมีความหนืดมากกว่าปกติ และมีโอกาสแข็งตัวในหลอดเลือดได้ง่าย
  • การแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษา คือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วดูแลในเรื่องของสุขลักษณะได้ไม่ดีพอ จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาเป็นยากดภูมิ หากติดเชื้อรุนแรงอาจเสียชีวิตได้

การรักษาอาการเนฟโฟรติก

แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยามาตรฐานชนิดแรกที่แพทย์จะเลือกใช้กับคนไข้เนฟโฟรติก หากมีการตอบสนองต่อตัวโรคได้ดี แพทย์จะค่อย ๆ ลดยากระทั่งหยุดให้ยา แต่ถ้าหากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี แพทย์ไม่สามารถหยุดให้ยาได้ จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิอื่น ๆ ร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบประคับประคองซึ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกที่คนไข้มีอาการบวมมาก เพราะถึงแม้จะมีการให้ยาจำเพาะสำหรับการรักษาโรค แต่คนไข้อาจไม่ตอบสนองทันที อาจต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป อาการบวมจึงจะยุบตัวลง ในแง่ของการรักษาแบบประคับประคอง ประกอบด้วย การจำกัดอาหารรสเค็ม อาหารรสจัด อาหารที่ปรุงด้วยเกลือปริมาณมาก เนื่องจากเกลือจะทำให้ตัวบวมมากขึ้น ส่วนในแง่ของอาหารอื่น ๆ เช่น โปรตีน คนไข้ยังสามารถทานได้ตามความเหมาะสมของช่วงอายุคนไข้

ความสำคัญของการรักษา

คือเรื่องการกินยาต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือเพิ่มยาเอง หากมีปัญหาต้องรีบติดต่อแพทย์ เพื่อวางแผนปรับยาโดยเร็ว นอกจากนี้คนไข้ควรดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่สุกสะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือปรุงด้วยเกลือปริมาณมาก เพราะจะทำให้ตัวบวม ทั้งยังกระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้น

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ทรงเกียรติ ฉันทโรจน์
สาขาวิชาโรคไต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ปัญหาลูกตัวบวมต้องระวัง อาจเป็น“เนฟโฟรติก”: พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5