อาหารเสริม-01
หน้าแรก
หมอรามาฯ แนะ อาหารเสริม กินมากๆ ตกค้างในร่างกายได้
หมอรามาฯ แนะ อาหารเสริม กินมากๆ ตกค้างในร่างกายได้

ปัจจุบันวิตามินและอาหารเสริมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น สังเกตได้จากมีวิตามินเสริม อาหารเสริมออกมาจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด เราจำเป็นหรือไม่ที่ต้องกินอาหารเสริมเหล่านี้ แล้วหากกินไปเป็นระยะเวลานานๆ จะเกิดผลเสียหรือไม่อย่างไร ทำไมผู้คนถึงหันมากินอาหารเสริมเป็นทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกัน

ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “อาหารเสริม” ชื่อก็บ่งบอกตัวมันเองอยู่แล้วว่าเป็นการเสริม เพราะฉะนั้นเราจะใช้ในกรณีที่บางคนได้รับสารอาหารไม่พอเพียงหรือว่าขาดไป ในความเป็นจริงหากเราได้รับมาจากอาหารประจำวันอย่างเพียงพอ เราก็ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเสริมอีก

วิตามินและเกลือแร่ ส่วนใหญ่เราจะได้จากผักและผลไม้

ถ้าสมมุติวันหนึ่งเราได้รับผักหรือผลไม้ไม่ถึง 5 ส่วน 5 ส่วนในที่นี้คืออะไร ให้เรานึกถึงกำปั้นของเรา ผักและผลไม้รวมกัน 1 กำปั้น คือ 1 ส่วน ฉะนั้นหากวันหนึ่งเราได้รับผักและผลไม้ไม่ถึง 5 ส่วน แสดงว่าเราได้รับวิตามินและเกลือแร่ไม่เพียงพอ และเราก็ต้องมาดูต่อว่าคนคนนั้นมีโรคประจำตัวหรือไม่

ถ้าเกิดมีโรคประจำตัว เช่น

ลำไส้ดูดซึมบกพร่อง มีการผ่าตัดลำไส้ หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินหรือเกลือแร่ไม่เพียงพอ จึงจะควรจะทานอาหารเสริมเพิ่มเติมเข้าไป

การตรวจหาวิตามินและเกลือแร่ในร่างกายนั้น ทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับวิตามินในร่างกาย หากเราไม่สามารถตรวจเลือดได้ และเราไม่แน่ใจ เราอยากจะซื้ออาหารเสริม วิตามินมากินเอง

แพทย์แนะนำว่า

  1. การกินวิตามินหรืออาหารเสริมเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย มีอันตรายกับร่างกายเหมือนกัน เพราะมันสามารถไปตกค้างสะสมในร่างกายได้
  2. หากเราต้องการจะกินวิตามิน แนะนำว่าให้ตรวจหาระดับวิตามินในร่างกายเสียก่อน
  3. เลือกวิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำจะปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า เพราะไม่มีการสะสมตกค้างในร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี
  4. หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ เพราะวิตามินบางอย่างแพทย์ไม่แนะนำให้กิน เช่น คนไข้มีปัญหาโรคไต เราไม่แนะนำให้ซื้อวิตามินเสริมที่เป็นวิตามินเอ เพราะจะทำให้เกิดภาวะวิตามินคั่งในตับและเกิดผลเสียต่อร่างกายได้

เพื่อสุขภาพที่ดี เราไม่จำเป็นต้องการกินวิตามินเสริมในปริมาณที่สูง

แต่เน้นรับประทานอาหารให้ครบชนิด ในปริมาณที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ก่อนตัดสินใจบริโภคควรจะเลือกดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองเรียบร้อยแล้วหรือยัง และอย่าลืมรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดการสะสมในร่างกายด้วย

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update HPV ไวรัสมะเร็งปากมดลูกผู้ชายก็เป็นได้” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

4

บทความ เรื่อง ริดสีดวงทวาร เกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณ ทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก
ริดสีดวงทวาร เกิดจากเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก
บทความสุขภาพ
03-04-2024

7