01111
หน้าแรก
เราจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างไรบ้าง
เราจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างไรบ้าง

2

ไม่ควร

“จะเศร้าไปทำไมนักหนากับเรื่องแค่นี้…?”

เข้มแข็งหน่อยสิ! เดี๋ยวมันก็ผ่านไป”

เรื่องเล็กๆ น่า…อดทนหน่อย”

สิ่งเหล่านี้ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่า “ตัวเองเป็นภาระ” จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยจิตใจตกอยู่ในความทุกข์

3

ควร

เราควรทำตัวให้ “พร้อมที่จะรับฟังปัญหาของผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ” อย่าเพิ่งรีบไปให้คำแนะนำโดยที่ผู้ป่วยยังไม่ได้พูดอะไร เพราะการที่เขาได้พูดระบายออกมาเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง ซึ่งอาจจะต่างจากที่เราคิดไว้ก็ได้

4

ไม่ควร

อย่าพยายามมองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าว่าเป็นการแกล้งทำ ภาวะที่เขาเป็นนี้ไม่ใช่อารมณ์เศร้าธรรมดา แจ่มันคือ “การเจ็บป่วย” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีและระบบฮอร์โมนต่างๆในสมอง ทำให้มีอาการต่างๆตามมา หากเปรียบกับโรคทางกาย เช่น ไข้หวัด ก็จะต้องมีน้ำมูก ต้องปวดศีรษะ ต้องมีอาการไอ โรคซึมเศร้าก็เช่นเดียวกัน

6

ควร

เราควรทำความเข้าใจผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า มองว่าเขากำลังไม่สบาย ความคาดหวังในตัวเขาก็จะลดลง ความหงุดหงิด ความคับข้องใจก็ลดลง เราต้องเข้าใจว่า… “ไม่มีใครคนไหนอยากป่วย”

7

ไม่ควร

อย่าพยายามกระตุ้นหรือคะยั้นคะยอผู้ป่วยเพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองแย่ ที่ไม่สามารถทำตามสิ่งที่คนรอบข้างคาดหวังได้

8

ควร

ปล่อยให้ผู้ป่วยได้ทำอะไรที่อยากทำ หรือตามใจผู้ป่วยบ้าง แต่ใน “ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยเขาไปหมด” ให้สังเกตช่วงที่เขาพอจะมีอารมณ์แจ่มใสขึ้นมา จึงควรชวนเขาพูดคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงเรื่องที่เขาเคยชอบ เคยสนใจ เพราะเขายังไม่มีสมาธิพอที่จะติดตามเรื่องยาว ๆ ได้นาน

9

ไม่ควร

อย่าไปบังคับให้เขาทำอะไรโดยที่ยังไม่พร้อม ไม่ว่าจะสิ่งที่เขาชอบหรือกิจกรรมต่าง ๆ

10

ควร

เมื่อเราสังเกตผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น จึงค่อย ๆ ให้งานหรือชวนให้เขาร่วมกิจกรรมที่พอทำได้บ้าง เป็นงานที่ไม่ต้องอาศัยสมาธิมากนัก หากเป็นงานที่มีการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่จะดีกว่างานที่ผู้ป่วยนั่งอยู่เฉย ๆ เพราะการมกิจกรรมจะทำให้ความคิดฟุ้งซ่านและการอยู่กับตัวเองลดลง

11

ไม่ควร

อย่าไม่กล้าที่จะถามผู้ป่วยถึงเรื่อง “ความคิดอยากตาย” เพราะกลัวว่าจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก

12

ควร

การถามเรื่องความคิดอยากตาย ในทางตรงกันข้ามเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกความตึงเครียด ความคับข้องใจ เพราะความคิดอยากตาย มักเกิดจากความครุ่นคิดของผู้ป่วย จากมุมมองต่อปัญหาที่บิดเบนไปมากกว่า ไม่ได้เกิดเพราะคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

13

ไม่ควร

เมื่อผู้ป่วยพูดถึงเรื่องอยากตาย อย่าบอกว่า “อย่าคิดมาก” เลิกคิดเถอะ” หรือ “อย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น” เพราะคำพูดทำนองนี้อาจทำให้เขารู้สึกว่า “คนรอบข้างไม่สนใจรับรู้ปัญหา”

14

ควร

ให้เขาพูดระบายความคับข้องใจออกมา ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่มีโอกาส หรือไม่ได้พูดความคับข้องใจให้คนรอบข้างฟัง เพราะคิดว่า “เขาคงไม่สนใจ” “ไม่อยากรบกวนเขา” “ไม่รู้จะเล่าให้เขาฟังตอนไหน”

15

ไม่ควร

ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยไว้ เมื่อเราสังเกต หรือพูดคุยแล้วพบว่าผู้ป่วยยังมีความท้อแท้สูง มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

16

ควร

รีบพามาพบจิตแพทย์ เพื่อหาหนทางรักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้องจะดีที่สุด

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล