งูพิษซุกตามบ้านเรือน1
หน้าแรก
หน้าฝนต้องระวัง งูพิษซุกตามบ้านเรือน
หน้าฝนต้องระวัง งูพิษซุกตามบ้านเรือน

ฤดูฝนนี้สัตว์ต่างๆ มักหาที่หลบฝนตามธรรมชาติ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานมีพิษเช่นงู ที่อาจหลบอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าไม้ หรือแม้กระทั่งบ้านเรือน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยในบ้าน โดยวันนี้เราก็มีความรู้เกี่ยวกับพิษงูและพื้นที่อาศัยของงูแต่ละชนิดมาฝาก  เพื่อการระมัดระวังที่เหมาะสม


จากสถิติในปี 2558 มีผู้ถูกงูกัดสูงสุดในเดือน มิ.ย. และ ส.ค. สูงถึงเดือนละ 52 ราย
ที่มา : ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค


งูพิษมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่

  • พิษต่อระบบประสาท
  • พิษต่อระบบโลหิต
  • และพิษต่อกล้ามเนื้อ

งูพิษที่มีต่อระบบประสาทได้แก่

  • งูเห่า
  • งูจงอาง
  • ทับสมิงคลา
  • งูสามเหลี่ยม

งูที่มีพิษต่อระบบโลหิต ได้แก่

  • งูเขียวหางไหม้
  • งูกะปะ
  • งูแมวเซา

งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ ได้แก่

  • งูทะเล


“งูเขียวหางไหม้” เป็นงูที่เจอบ่อย เพราะสามารถพรางอยู่ตามต้นไม้ได้อย่างแนบเนียน


“งูเห่า” สามารถพบได้ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ชุมชน หากกัดแล้วจะเกิดอาการบวม


“งูกะปะ” พบได้ตามสวนยาง ป่าเขา โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ หลังถูกกัดบริเวณนั้นจะเกิดอาการเน่า


“งูทับสมิงคลา” พบในภาคตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือ


“งูแมวเซา” พบได้ในภาคกลางและภาคตะวันออก หลังกัดจะไม่เกิดแผล แต่ทำให้ไตวายได้


“งูจงอาง” สามารถพบได้ในป่าเท่านั้น


“งูทะเล” พบได้จากชาวประมงลากอวนซึ่งมาจากการจับปลาทะเล


หากถูกงูที่ไม่มีพิษกัด จะมีอาการไม่รุนแรง เพียงเกิดรอยเขี้ยวรอบแผล


หากถูกงูที่มีพิษกัด พิษจะวิ่งเข้าสู่ระบบประสาท กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอ่อนแรง ลืมตาไม่ขึ้น หนังตาตก หายใจไม่สะดวก สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 30-60 นาที


หากถูกงูกัดให้รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด และพยายามเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด


ห้ามกรีดแผล ห้ามใช้เหล้า ห้ามใช้ยาสีฟันหรือสิ่งอื่น ๆ ทาแผล เพราะอาจทำให้ติดเชื้อ


ห้ามดูดพิษ และควรช่วยผู้ป่วยในเรื่องของการหายใจ

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.วินัย วนานุกูล
หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | ฤดูฝนอากาศชื้น ระวังงูมีพิษ” ได้ที่นี่