ลำไส้โป่งพอง1
หน้าแรก
รู้จักกับโรค “ลำไส้โป่งพอง” น่ากลัวกว่าที่คิด
รู้จักกับโรค “ลำไส้โป่งพอง” น่ากลัวกว่าที่คิด

มีอีกหนึ่งโรคที่เชื่อว่าหลายคนคงจะไม่คุ้นหูมากนักกับโรคลำไส้โป่งพอง เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบขับถ่าย เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่สามารถขับถ่ายได้ด้วยตนเองต้องใช้วิธีการสวนเพื่อช่วยในการขับถ่าย ทั้งยังพบว่าบางรายที่มีอาการรุนแรงนั้นไม่ขับถ่ายเป็นเวลานับปี ส่งผลให้ลำไส้ขยายใหญ่และท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น กระทั่งปวดท้องรุนแรงและต้องทำการผ่าตัด เรียกได้ว่าเป็นโรคที่น่ากลัวไม่น้อย และทุกคนควรทำความรู้จักกับโรคนี้โดยทั่วกัน


เป็นโรคที่ผู้ป่วยเป็นตั้งแต่กำเนิดจากภาวะลำไส้อุดตันในทารกแรกเกิด


ลักษณะของโรคคือการไม่มีปมประสาทในลำไส้


เมื่อไม่มีปมประสาทจึงมีการบีบรัดของลำไส้ตลอดเวลา


ทำให้อุจจาระผ่านไปที่ส่วนปลายของลำไส้ไม่ได้


จึงมีอาการท้องอืด ถ่ายอุจจาระไม่ออก และลำไส้โป่งพองขึ้น มีขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น


บางรายอาจมีอาการอ้วก รับนมไม่ได้ รับอาหารไม่ได้ และน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น


หากปล่อยทิ้งไว้นานจะเกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร


เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักจะมีอาการท้องอืด ไม่ขับถ่ายขี้เทา หรือไม่ขับถ่ายอุจจาระเหมือนเช่นเด็กคนอื่น ๆ


มักต้องใช้วิธีการสวนเป็นประจำเพื่อขับถ่าย


ต้องได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน


บางรายอาจปล่อยไว้จนโตเป็นผู้ใหญ่และแสดงอาการรุนแรงภายหลัง


อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคลำไส้โป่งพอง ได้แก่ ลำไส้แตก ลำไส้อักเสบ ลำไส้ทะลุ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด


การรักษาคือต้องเอาส่วนที่ไม่มีปมประสาทออกไป


หากเกิดในลำไส้ที่ไม่มีปมประสาทในส่วนสั้น ๆ ใช้วิธีการสวนล้างอุจจาระทางทวาร


หากไม่มีปมประสาทบริเวณลำไส้ที่ยาวมาก ต้องยกรูลำไส้ให้ทำการถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง ก่อนที่จะนำไปผ่าตัด


ทางที่ดีหากพบว่าเด็กมีอาการไม่ถ่าย และสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้เหมาะสม


หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการเรื้อรัง การรักษาจะทำได้ยากกว่าในผู้ป่วยที่รักษาได้เร็ว

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ชลศักดิ์ ถิรภัทรพันธ์
สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคสำไส้ใหญ่โป่งพองตั้งแต่กำเนิด : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่