02222
หน้าแรก
รับฟังด้วยหัวใจและความรู้สึก ช่วยหยุดคนคิดสั้นฆ่าตัวตาย
รับฟังด้วยหัวใจและความรู้สึก ช่วยหยุดคนคิดสั้นฆ่าตัวตาย

2

เราทุกคนนั้นถ้าไม่ถึงที่สุดแล้วจริงๆคง “ไม่มีใครอยากตาย”

3

เพราะโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนต่างหวงแหนชีวิตของตนเองทั้งนั้น

4

ในเมื่อทุกคนหวงแหนชีวิตของตัวเองแล้วทำไมจึงคิดสั้นอยากฆ่าตัวตายอยู่?

5

ความจริง…เป้าหมายของคนที่ทำไปนั้น “ไม่ใช่เพื่อการตาย” แต่ “เพื่อหยุดการรับรู้ความทุกข์ใจ” จากปัญหาที่เขาเผชิญอยู่

6

คนคิดฆ่าตัวตายเขาแค่ต้องการ “ทางออก” เพื่อที่จะได้ “ไม่รับรู้อะไรอีกต่อไป”

7

“เขาปวดร้าวทรมานใจมาก”

“เขามองไม่เห็นทางออกอะไรอีกแล้ว”

“เขาเจ็บปวดจนไม่อยากจะทนอีกต่อไป”

8

“แต่ลึกๆ แล้วสิ่งที่เขาอยากมี คือ คนที่เขาสามารถระบายความทุกข์ใจให้ฟังได้”

9

หากคนคิดฆ่าตัวตายนั้น แค่ต้องการ…คนที่สามารถระบายความทุกข์ในใจให้ฟังได้?

10

หลายคนคงคิดในใจตอนนี้ว่า ที่จริงแล้ว “เราเป็นคนคนนั้นให้ได้นะ…ไม่ยากเลย”

11

จริงอยู่ทุกคนเป็นได้ ทุกคนเป็นคนที่พร้อมจะช่วยเหลือได้ แต่เป็นอย่างไรจึงจะดี?

12

การช่วยเหลือคนคิดสั้นฆ่าตัวตายที่สำคัญ คือ

“การรับฟังเขาด้วยหัวใจและความรู้สึก”

“ไม่ใช่การรับฟังด้วยสมองหรือเหตุผล” แต่เพียงอย่างเดียว

13

คนเราส่วนใหญ่นั้น มักจะรีบห้ามปรามหรือรีบให้คำแนะนำคนที่ทุกข์ใจมาก ๆ “ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฟังเขาเล่าความทุกข์ใจของเขาทั้งหมด ให้เราฟังก่อนเลยด้วยซ้ำ”

14

“ทำไมเธอถึงคิดแบบนั้น ทางออกมีอีกเยอะ”

“แกจะบ้าหรอ…จะทำไปทำไม คิดสั้นเกินไปแล้ว”

“ฉันไม่เห็นด้วยนะ มันมีทางอื่นที่ดีกว่า…”

คำพูดเหล่านี้เกิดจากการใช้เหตุผลตัดสิน เพราะเห็นอยู่ว่ามันไม่ดีจึงเกิดความเป็นห่วง ต้องรีบแนะนำรีบห้ามปราม

15

และส่วนใหญ่เรามักจะคิดก่อนเสมอว่า คำแนะนำของเรานั้นมันดีกับเขาแล้ว เราหวังดีกับเขา เราอยากจะช่วยเขา ซึ่งบางทีเราก็ลืมไปว่า สิ่งที่แนะนำไป มันอาจจะยังไม่ถูกต้องสำหรับชีวิตของเขาก็ได้

16

ถึงตรงนี้อย่าพึ่งตกใจไปว่าการที่เราแนะนำด้วยการใช้เหตุผล คือ เรื่องผิด “มันไม่ผิด” เพียงแต่ “เราไม่รู้”

17

ถ้าอย่างนั้นเรามาเรียนรู้กันว่า…การรับฟังด้วยหัวใจและความรู้สึกเป็นอย่างไร?

18

การรับฟังด้วยหัวใจและความรู้สึก คือ การที่เราไม่ต้องรีบพูดอะไรออกไปก่อน “การฟังก็คือการฟัง”

19

พยายามตั้งใจฟังกับสิ่งที่เขาพูด ให้เขาระบายวางท่าทีที่พร้อมจะรับฟังอย่างจริงใจ

20

เรารับฟังและรู้สึกไปกับเขา

“เรารู้แล้ว…ว่าเธอเสียใจ”

“อื้ม ฉันรู้ละ…ว่าแกเสียใจมากจริงๆ”

“ฉันรับรู้กับเธอนะ ว่าเธอเสียใจมาก”

21

และบางครั้งความคิดของเขามันไม่จำเป็นต้องตรงตามความคิดของเราไปเสียหมด เพียงขอแค่…ให้เรารู้สึกไปกับเขาว่าเขาเสียใจมาก เห็นสีหน้าของเขา…ฟังน้ำเสียงของเขา…

22

เท่านี้เขาก้รับรู้แล้วว่า “เขายังมีตัวตน” มีคนอยู่เคียงข้างเขาเสมอ มีคนเห็นว่าเขาเป็นทุกข์มาก มีคนเห็นว่าเขาไม่เห็นทางออกแล้วจริงๆ

23

เมื่อเรามองเห็นคนอื่นมากขึ้น มองเห็นหัวใจของคนอื่นมากขึ้น แล้วเราจะรับรู้ว่า…แค่นี้มันเพียงพอ

24

ความคิดที่เขาจะแปลกแยกอยู่คนเดียว ความคิดฆ่าตัวตาย ความเครียดต่างๆ ก็จะลดลงได้

25

คนฆ่าตัวตาย มักจะห่วงหน้าห่วงหลัง สองจิตสองใจ ใจหนึ่งก็คิดอยากจะตาย ใจหนึ่งก็เป็นห่วงครอบครัว เป็นห่วงคนที่เขารักเสมอ

26

การที่เราร่วมรู้สึกถึงปัญหาของเขานั้น มันเป็นการช่วยเหลือเขาไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว

27

อย่ารีรอ อย่าลังเลจนถึงวันที่เราต้องเอ่ยว่า

“ทำไมเราไม่พยายามช่วยเขา”

“ทำไมเราไม่ไปหาเขา”

“ทำไมเราไม่อยู่กับเขาต่อ”

“ทำไมเราไม่รับฟังเขา”

“ทำไมเราไม่รับโทรศัพท์เขา”

28

และอีกหลายๆ “ทำไม” เพราะตอนที่เราพูดประโยคเหล่านี้มันอาจจะเป็น “วันที่สายไปแล้ว”

29

คำแนะนำจากแพทย์

30

การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง คนเราจะเห็นน้ำใจเห็นความจริงใจของกันและกัน ก็ในยามที่เราเผชิญกับความทุกข์ระทม รู้สึกท้อแท้ต้องการกำลังใจอย่างที่เขากำลังประสบอยู่ในขณะนี้

31

ถ้าดูแล้วเขาคิดอยากตายค่อนข้างมาก อย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว ยิ่งถ้าเราดูแล้วเรื่องราวต่างๆ ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ยิ่งไม่ควรไว้วางใจ แม้เขาจะบอกว่าสบายใจแล้วก็ตาม เก็บข้าวของที่เขาอาจใช้เป็นเครื่องมือฆ่าตัวตายไว้ให้ห่าง

32

ถ้าไม่รู้จะปรึกษาใครจริง ๆ หรืออึดอัดใจที่จะเล่าเรื่องนี้ให้คนอื่นฟัง ให้โทรปรึกษาหน่วยงานให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (หมายเลขโทรศัพท์อยู่ท้ายเรื่อง)

33

หมายเลขโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ

1. สถาบันสุขภาจิตเด็กและวัยรุ่น
โทร. 02-254-7798 เวลา 09.00-15.00 น.

2. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
โทร. 02-442-2500 เวลา 08.30-16.30 น.

3. โรงพยาบาลศรีธัญญา
โทร. 02-525-0981 ตลอด 24 ชั่วโมง

4. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
โทร. 02-889-9066 เวลา 08.30-16.30 น.

5. สะมาริตันส์
โทร. 02-713-6793 เวลา 12.00-22.00 น. ทุกวัน

34

ข้อคิดที่เราควรระลึกไว้เสมอ “ทำมากดีกว่าทำน้อยจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง”

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล