นิ้วล็อก1
หน้าแรก
“นิ้วล็อก” ถ้าเป็นแล้วต้องแก้ยังไง
“นิ้วล็อก” ถ้าเป็นแล้วต้องแก้ยังไง

ปัจจุบันเป็นยุคของสมาร์ตโฟนที่มีผู้ใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งยังมีอัตราการใช้งานที่ค่อนข้างถี่ในแต่ละบุคคล โดยในการใช้งานนาน ๆ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลาย ๆ อย่างตามมา หนึ่งโรคที่สำคัญก็คือโรคนิ้วล็อก จากการใช้งานสมาร์ตโฟนมาก ๆ ที่เราพบได้บ่อย ครั้งนี้จึงถือโอกาสนำวิธีการรักษาปัญหาดังกล่าวมาฝาก เพื่อปฐมพยาบาลตนเอง


อาการแรกคือปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดหรือกำได้ไม่เต็มที่


สามารถเป็นนิ้วเดียวหรือเป็นหลายนิ้วพร้อมกัน


ตำแหน่งที่ล็อก ขึ้นอยู่กับว่าท่าไหนที่ใช้ประจำ


แก้ไขโดยยืดกล้ามเนื้อแขนขึ้นระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันข้อมือให้กระดกขึ้นและกระดกลง ค้างไว้ 10 วินาที เซ็ตละ 6-10 ครั้ง


วิธีที่สองฝึกกำและแบมือ หรือใช้ลูกบอล ช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ


วิธีที่สามใส่ยางในนิ้วมือ แล้วเหยียดนิ้วออกค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อย


วิธีลดความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อกคือไม่หิ้วของหนักจนเกินไป


ถ้าจำเป็นต้องหิ้วของหนักให้หาผ้าขนหนูมารองหรืออุ้มประคองแทน


อาจใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงและควรสวมใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น


หากทำงานเป็นเวลานานควรพักมือเป็นระยะและออกกำลังยืดกล้ามเนื้อมือ


ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่นเพราะเส้นเอ็นจะอักเสบมากขึ้น


หากมือฝืดตอนเช้าหรือมือเมื่อยล้าให้ขยับ กำ แบ ในน้ำอุ่น

 

ข้อมูลจาก
รศ. ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “นิ้วล็อค..ช็อกเลย!! รายการ สามัญประจำบ้าน ep.77” ได้ที่นี่