01
หน้าแรก
"พาราเซตามอล" ทานไงให้ดี เมื่อเรามีไข้

"พาราเซตามอล" ทานไงให้ดี เมื่อเรามีไข้

13503021_1752616761621217_3984386261708073758_o

“พาราเซตามอล” มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดได้หลากหลาย และช่วยลดไข้ได้ดี

13517621_1752616768287883_8782608636228503607_o

เป็นยาที่ใช้รักษาตามอาการ ไม่ใช่ยารักษาโรคโดยตรง และใช้ได้ “เฉพาะอาการปวดระดับอ่อนถึงปานกลาง” เท่านั้น

13490865_1752616764954550_838562482037507078_o

ได้แก่

  • ปวดศีรษะธรรมดา
  • ปวดข้อจากอาการเสื่อม
  • ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัด ยอก
  • และลดไข้ทั่วๆไป

13498019_1752616801621213_4342338430325825062_o

อาการปวดที่ยาพาราเซตามอล ไม่มีผลรักษาหรือให้ผลน้อย ได้แก่

13495607_1752616804954546_3282287653121349000_o

1. อาการปวดขั้นรุนแรง เช่น อาการปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ อาการปวดจากโรคมะเร็ง

13559002_1752616808287879_9208332075515043639_o

2. อาการปวดลักษณะไม่ปกติ เช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นครั้งๆ ปวดเหมือนเข็มเล็กๆ ทิ่มแทง เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการปวดจากเส้นประสาททำงานผิดปกติ

13474952_1752616811621212_3741318513801620457_o

3. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เช่น ปวดไมเกรน 3-4 ครั้งต่อเดือน ปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนโดนบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน

13558730_1752616838287876_8331757117480505123_o

ปริมาณการใช้ยาพาราเซตามอลมีสัดส่วนคือ ยา 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

13497793_1752616854954541_4271860898551608567_o

โดยทั่วไปยาพารเซตามอลหนึ่งเม็ดจะมีตัวยา 500 มิลลิกรัม ซึ่งขนาดมาตรฐานสำหรับผู้ใหญ่ ที่ทั่วไปจะมีน้ำหนักตัวมาตรฐานประมาณ 50 กิโลกรัม หากผู้ป่วยน้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัม ก็สามารถรับประทานครั้ง 2 เม็ดได้

13502736_1752616858287874_7477917851702378496_o

สำหรับเด็กก็คำนวณเหมือนผู้ใหญ่ แต่จะทานยาเป็นชนิดน้ำเชื่อมแทนซึ่งฉลากจะระบุไว้ว่า 1 ช้อนชา จะได้รับยากี่มิลลิกรัม

13497711_1752616861621207_5445783803833762809_o

1 วันให้เราทานยาพาราเซตามอลทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ครั้งละไม่เกิน 2 เม็ด

13559049_1752616878287872_3654917119547696254_o

มากสุดไม่เกินวันละ 6 เม็ด และไม่ควรทานติดต่อกันนนานเกิน 3-5 วัน

13503056_1752616901621203_8476255344208792489_o

เพราะอาจได้รับยาเกินขนาด มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะ “ตับเป็นพิษ” เริ่มจากอาการเล็กๆ น้อยๆ หรือถึงขั้นตับวายเสียชีวิตได้

13559076_1752616898287870_5623359885394470934_o

ยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคตับ ยิ่งต้องควบคุมการใช้ยานี้โดยแพทย์อย่างเข้มงวด

13497565_1752616908287869_5317718784348551129_o

นี่คืออีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำไมเราควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ยังมีการใช้ยาพาราเซตามอลอยู่

13517600_1752616921621201_5821511633233471904_o

การใช้ยาพาราเซตามอลเมื่อมีไข้ ยังช่วยให้เราสังเกตว่า มีโรคอย่างอื่นรุนแรงแทรกซ้อนอยู่หรือไม่ได้ด้วย

13490699_1752616934954533_7782738772274075086_o

เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ไทฟอยด์ โดยการสังเกตลักษณะอาการของไข้ คือ

13483396_1752616938287866_6027956010976530732_o

ไข้หวัดปกติ จะไม่มีอาการไข้ทั้งวัน และไข้จะขึ้นๆ ลงๆ เมื่อทานยาพาราเซตามอล ไข้ก็จะลดลงจนเรารู้สึกสบายตัว

13558622_1752616941621199_3410458378074218320_o

แต่หากเป็นไข้เลือดออก ไข้ไทฟอยด์ จะมีอาการไข้ลอย คือไข้จะขึ้นอยู่แบบนั้นทั้งวันไม่เปลี่ยนแปลง

13502818_1752616961621197_5197949129935845159_o

ฉะนั้นเมื่อทานยาพาราเซตามอลแล้วไข้ไม่ลดลงเท่าที่ควรจะเป็น ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค อย่างเช่น โรคไข้เลือดออก อย่าปล่อยไว้นาน ๆ

13558990_1752616978287862_3763091269068599124_o

“พาราเซตามอล” แม้เป็นยาทั่วๆ ไป แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ก็ก่ออันตรายร้ายแรงกับตัวเราได้

 

ข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL