ปากแหว่ง1
หน้าแรก
ปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลต่อการฟังและการพูด

ปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลต่อการฟังและการพูด

อาการปากแหว่งเพดานโหว่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำขั้นพื้นฐาน เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารทั้งการฟังและการพูด วันนี้เราก็มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวโรคมาฝากเพื่อให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจร่วมกันและปฏิบัติให้เหมาะสม


อาการปากแหว่งเพดานโหว่ คือผิดปกติบนใบหน้าจากการแหว่งของปาก


อาการแหว่ง อาจแหว่งตั้งแต่ริมฝีปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหรือยื่นไปยังสันเหงือกหรือเพดานแข็งส่วนหน้า


ส่วนอาการโหว่ของเพดาน อาจโหว่ตั้งแต่ช่องเพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง


อาการปากแหว่ง เพดานโหว่ จะส่งผลต่อการดูด การกลืนอาหาร


และอาจส่งผลไปยังหูชั้นกลางทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการได้ยิน


อาการปากแหว่ง เพดานโหว่ ยังส่งผลต่อการพูด


ทำให้พูดช้า พูดไม่ชัด พูดแล้วฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เสียงขึ้นจมูก เสียงแหบ


ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับอาการด้วยว่าแหว่งมากหรือแหว่งน้อย


หากแหว่งน้อยอาจไม่ส่งผลกระทบเลยก็ได้


การรักษาคือการผ่าตัดเพื่อเย็บเพดานปาก


หากเด็กมีความผิดปกติเรื่องการพูดด้วย ก็ต้องนำเด็กเข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนาด้านการพูด


หากพบปัญหาในเบื้องต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ยอมพาเด็กมารักษา


อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่หูชั้นกลางและมีผลต่อการได้ยิน ทั้งยังอาจส่งผลให้สมองอักเสบตามมา


ดังนั้น หากรับทราบถึงปัญหา ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

ข้อมูลจาก
ผศ. ดร.กัลยาณี มกราภิรมย์
หัวหน้าสาขาแก้ไขการพูด ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีวิธี “แก้ไขการพูด” อย่างไร? : Rama Square ช่วง ปากสวย–โสตใส” ได้ที่นี่