ภาวะลองโควิด long covid อาการและวิธีรักษา
Home
ภาวะลองโควิด (long covid) เป็นแล้วหายไหม วิธีสังเกตและการรักษา
ภาวะลองโควิด (long covid) เป็นแล้วหายไหม วิธีสังเกตและการรักษา

ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 อาจรู้สึกกังวลว่าตัวเองกำลังเป็นลองโควิดหรือไม่ เมื่อพบว่าสุขภาพร่างกายไม่ปกติเหมือนก่อนเป็นโรค เช่น รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ หายใจเหนื่อย ไอเรื้อรัง อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะลองโควิด

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นลองโควิด

ลองโควิด ต้องไม่ใช่ ภายใน 1 เดือน ต้องหายจากโควิด และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ต้องแยกว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่เป็นมาก่อนเป็นโควิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด นอนไม่หลับ บางคนไม่เคยหาหมอเลย แต่เมื่อเป็นโควิดแล้วได้ตรวจ จึงได้พบว่าเป็นโรคอื่นมาก่อนแล้ว

อาการที่อาจเป็นลองโควิด 

ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อย ไอ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน ต้องตรวจการทำงานของหัวใจ ปอด ในเบื้องต้น ว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่ เช่น การเจาะเลือด การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

คนไข้กลุ่มไหนที่ควรมาพบแพทย์

คนไข้ที่มีอาการเยอะ เช่น นอน ICU ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนที่มีอายุมาก มีโรคอ้วน โรคประจำตัว จะนัดมาเจอหมออย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 1 เดือน

อาการเริ่มต้นตอนเป็นโควิดกับลองโควิดสัมพันธ์กันหรือไม่

ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กัน จากข้อมูลในประเทศอิตาลีและอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโควิดและรักษาตัวอยู่ที่บ้านมีโอกาสเป็นลองโควิด 10-15%

ภาวะ MIS-C กับ ลองโควิด ต่างกันอย่างไร

ภาวะ MIS-C(Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) เป็นภาวะการอักเสบภายในร่างกายของเด็ก หากเป็นในผู้ใหญ่ จะเรียกว่า MIS-A (Multisystem Inflammatory Syndrome in Adult) ต่างจากลองโควิดตรงที่หลังจากที่ผู้ป่วยหายจากโควิด-19 จะมีอาการอักเสบค่อนข้างเยอะ ทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อขึ้นอีกครั้ง เช่น ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบ ผื่น ตับและไตอักเสบ ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการรับประทานยากดภูมิ ในขณะที่ลองโควิด อาการของโรคจะยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่รุนแรงมากนัก

ไม่แน่ใจว่าเป็นลองโควิด ต้องตรวจร่างกายเยอะไหม  

ไม่จำเป็น การซักประวัติตรวจร่างกายและดูปัจจัยเสี่ยงมีความสำคัญ หากไม่แน่ใจว่าเป็นลองโควิดหรือไม่ อาจรับประทานยาทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการไปก่อน เช่น ยาแก้ไอ ยาคลายกังวล หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำสมาธิ การฟังเพลงบำบัด

ลองโควิดอันตรายถึงชีวิตหรือไม่

แทบไม่มีการรายงาน แต่มักจะเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังการติดโควิด-19 มากกว่า

 

ความเชื่อเกี่ยวกับลองโควิด 

  1. ฉีดวัคซีนทำให้เป็นลองโควิด
    ไม่จริง มีการศึกษาพบว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนมีโอกาสเป็นลองโควิดมากกว่าคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
  2. เป็นลองโควิดห้ามออกกำลังกาย
    ไม่จริง แต่ควรออกกำลังกายเท่าที่ไหว เช่น การเดิน 15-20 นาทีต่อวัน หากเหนื่อยให้หยุดพัก และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาเมื่อร่างกายมีความทนทานมากขึ้น
  3. รับประทานนมเปรี้ยวช่วยให้หายจากการเป็นลองโควิดได้เร็วขึ้น
    ไม่จริง ยังไม่มีการศึกษาว่ารับประทานนมเปรี้ยวแล้วจะช่วยให้หายจากการเป็นลองโควิดได้เร็วขึ้น
  4. มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า เกิดจากลองโควิด
    เป็นไปได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากจากโรคข้อเข่าที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ไม่เคยรับการตรวจวินิจฉัยมาก่อน
  5. เลือดบางกรุ๊ปมีโอกาสเป็นลองโควิดมากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น
    ไม่จริง การศึกษาหลาย ๆ ประเทศ ยังไม่พบว่ากรุ๊ปเลือดมีผลต่อการเป็นลองโควิด

ลองโควิดเป็นแล้วหายได้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาหาหมอเพื่อตรวจร่างกายหากมีอาการไม่มาก แต่สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่นอน ICU ใช้เครื่องช่วยหายใจ คนที่มีอายุมาก มีโรคอ้วน โรคประจำตัว ก็สามารถมาพบหมอได้ เพื่อตรวจคัดกรองอีกที  อย่างไรก็ตาม อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด ให้คำแนะนำว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะลดลง รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ได้รับการผ่อนปรนมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรประมาท การ์ดอย่าตก เพราะการเป็นลองโควิดทำให้เราใช้ชีวิตอย่างยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือการใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หมั่นล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคไวรัสโควิด-19 และภาวะลองโควิดได้

 

ข้อมูลโดย
อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
Article
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
Article
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
Article
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
Article
22-08-2024

9