ภาพประกอบบทความ อากาศร้อนจัดต้องระวัง ! โรคลมแดด หรือ ภาวะฮีทสโตรก ภัยฉุกเฉินจากฤดูร้อน อาจทำให้เกิดอันตารายได้
Home
อากาศร้อนจัดต้องระวัง ! โรคลมแดด หรือ ภาวะฮีทสโตรก ภัยฉุกเฉินจากฤดูร้อน
A A
-+=
อากาศร้อนจัดต้องระวัง ! โรคลมแดด หรือ ภาวะฮีทสโตรก ภัยฉุกเฉินจากฤดูร้อน

สภาพอากาศของประเทศไทยช่วงนี้ร้อนมาก ซึ่ง อากาศร้อน มากถึงขนาดนี้ก็สามารถฆ่าคนให้ตายได้ แม้ไม่ค่อยพบในประเทศไทยมากนัก แต่ก็ควรที่ต้องระวังภาวะนี้ ภาวะฮีทสโตรกหรือภาวะลมแดด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความร้อนที่สูงและอบอยู่ในร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ วันนี้รามาแชนแนลจะพาทุกคนมารู้จัก ภาวะฮีทสโตรก และวิธีรับมือภาวะนี้

ภาวะฮีทสโตรก คืออะไร ?

ภาวะฮีทสโตรกหรือภาวะลมแดด เกิดจากความร้อนที่สูงเกินไป ซึ่งความร้อนที่สูงเกินไปในแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะของสาเหตุ คือ

  1. ภาวะที่มีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจากการที่ร่างกายของเราและมีการเผาผลาญพลังงาน ที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดภาวะไข้หรือว่าการที่มีความผิดปกติทางสมองทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้
  2. พบบ่อยได้ในภาวะที่มีอุณหภูมิภายนอกสูงได้แก่ในฤดูร้อน ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป 
  3. สภาพแวดล้อมมีความชื้นสัมพัทธ์สูง การที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ก็จะทำให้ไม่มีทางออกของอุณหภูมิส่งผลให้ให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น 

อาการที่เกิดขึ้นจากความร้อน 

แบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่ปวดเมื่อยเนื้อตัวธรรมดา รู้สึกอ่อนล้า จนถึงหมดสติไม่รู้สึกตัว เป็นอาการปกติไม่รู้สึกตัวจากความร้อน ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดภาวะฮีทสโตรก ถ้าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีการเสียชีวิตได้ 

บุคคลกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก ? 

  1. กลุ่มคนที่ทำงานกลางแจ้ง สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  2. คนสูงอายุหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากถ้าบุคคลเหล่านี้อยู่ในห้องที่ปิดตาย ไม่มีอากาศที่ไทยไม่มีลมพัดพา อากาศร้อน ไปได้ จะทำให้ต้องอยู่กับอุณหภูมิที่สูงเป็นเวลานานสุดท้ายก็จะทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อไปได้แล้วก็จะเกิดเป็นภาวะฮีทสโตรก ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในผู้สูงวัย อ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ ภาวะขาดน้ำ ผู้สูงอายุต้องระวัง” 
  3. นักกีฬา เช่น การวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ที่จะต้องสัมผัสอากาศที่ร้อนหรือความชื้นที่สูงทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะที่จะเสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกมากขึ้นกว่าบุคคลอื่น 
  4. คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันเลือด ที่ต้องกินยาขับปัสสาวะ
  5. คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้มากกว่าคนปกติทั่วไป 
  6. สตรีมีครรภ์ อาจจะเป็นลมและเป็นอันตรายต่อตัวเองและทารก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคลมแดด(Heat Stroke) คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

การดูแลและป้องกัน ภาวะฮีทสโตรก

  1. ดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปกติ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน 
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณกลางแจ้งหรือในที่ปิด
  3. ถ้าจำเป็นที่จะต้องอยู่บ้านในระยะเวลานาน ๆ ควรที่จะเปิดหน้าต่างหรือแอร์

หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกต้องแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจให้ โทร 1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว และทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น หรือใช้การฉีดสเปรย์เพื่อระบายความร้อน ร่วมกับการเปิดพัดลมได้

 

ข้อมูลโดย

อ. นพ.กานต์ สุทธาพานิช

ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv


คลิกชมคลิปรายการ “ฮีทสโตรก…อากาศร้อนจัด ฆ่าคนได้” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคภูมิแพ้ตา อาการเรื้อรังที่ไม่ควรละเลย
โรคภูมิแพ้ตามีอาการคัน แดง น้ำตาไหล หากปล่อยไว้อาจเรื้อรังและส่งผลต่อการมองเห็น ควรดูแลและรักษาเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน
Article
07-11-2024

0

ผดผื่นคัน หน้าร้อน ทำให้ระคายเคืองผิว ควรดูแลผิวให้สะอาด เลือกใส่เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดี และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
ผดผื่นคัน มักเกิดในหน้าร้อน ทำให้ระคายเคืองผิว ควรดูแลผิวให้สะอาด เลือกใส่เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดี และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
Article
06-11-2024

2

ภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวานเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายไต ควรควบคุมระดับน้ำตาลและตรวจสุขภาพไตเป็นประจำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
Article
05-11-2024

1

โรคกระดูกพรุน คืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงเป็น
รู้สัญญาณเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เช่น น้ำหนักน้อย ขาดแคลเซียม และไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจสุขภาพกระดูกและปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเสื่อมก่อนวัย
Article
05-11-2024

0