06-01
หน้าแรก
โรคนอนเกิน
โรคนอนเกิน

เคยนำเสนอเรื่องของการอดนอน นอนน้อย นอนไม่หลับกันไปแล้ว วันนี้มาพบกับเรื่องของการนอนมากเกินไปหรือนอนเกินกันบ้างดีกว่า โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือ เรียกว่า การหลับเกินพอดี เป็นโรคที่เกิดในคนขี้เซาเป็นหลัก ยิ่งพักนอนเท่าไรก็รู้สึกไม่พอเท่านั้น ชีวิตที่เป็นโรคนี้ก็จะดูเฉื่อย ซึมเซา ไร้ชีวิตชีวา บางทีกินน้อยแต่อ้วนง่าย เพราะการนอนเยอะเกินไปนี้อาจมีธาตุเครียดเข้ามาผสมปนเป ทำให้ “กินแล้วเก็บสะสม” ได้มาก

ง่วงมากเกินไป หรือ ง่วงมากผิดปกติ (Excessive Sleepiness) เป็นสิ่งที่ผิดปกติ

ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องรีบพบแพทย์ คนที่มีภาวะนี้จะตื่นยากมากจากการนอน เมื่อตื่นแล้วก็รู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก ระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลายๆ ครั้ง และการงีบก็อาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ในรายที่มีอาการมาก ขณะคุยกันก็ยังหลับได้ระหว่างกินอาหาร งีบก็แล้ว ตื่นมาก็ยังง่วงต่อไปอีก ตื่นมาก็ไม่สดชื่น (Non Restorative Sleep) สามารถหลับในเวลากลางวันได้วันละหลายครั้ง ง่วงมากเกินไปตอนกลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness) คนเหล่านี้จะสามารถหลับได้ในขณะที่กำลังคุยสนทนาอยู่ หรือแม้กำลังรับประทานอาหาร บางคนที่ง่วงมากขณะนอนหลับ ถ้าถูกปลุกขึ้นมาก็อาจมีอาการพูดจาสับสน

นอกเหนือจากอาการง่วงแล้ว ยังหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ความคิดอ่านไม่แล่น ความจำไม่ดี และมีอาการซึมเศร้า ถ้าท่านมีคนรอบข้างหรือญาติพี่น้อง ลูกหลาน ง่วงมากเกินไป หรือง่วงมากผิดปกติ ขอให้ตระหนักว่าผิดปกติแน่นอน ไม่ใช่เกิดจากพฤติกรรมหรือนิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบไปพบแพทย์

โทษพิษภัยจากการนอนเกิน

  1. สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
  2. เชื่องช้าไม่สบาย เพราะติดนอนไม่อยากลุกไปไหน ทำให้ความคล่องตัวเริ่มหายไป เป็นผลต่อเนื่องให้กระดูกพรุน ข้อเสื่อม
  3. น้ำหนักเกินมากกว่าเดิม เพราะวันๆ เอาแต่กินกับนอน ไม่ไปไหน
  4. กลายเป็นคนซึมเศร้า การนอนมากๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ “เคมีอารมณ์ สารความสุข” จำพวก “เซโรโทนิน(Serotonin)” และ “เอนดอร์ฟิน(Endorphin)” ลดต่ำลง
  5. อาจก่อให้เกิดอาการหดหู่ เศร้าใจ เครียดได้ง่าย ไม่เอาการเอางาน

 

ข้อมูลจาก
พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5