14352264_1783159405233619_746648747565152845_o
หน้าแรก
ปวดฟันบ่อยอย่าวางใจ อาจเป็นการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
ปวดฟันบ่อยอย่าวางใจ อาจเป็นการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า

เส้นประสาทบนใบหน้า อยู่บริเวณข้างใบหูหรือเราเรียกว่า เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อในการบดเคี้ยวอาหาร รับความรู้สึกบนใบหน้า รวมถึงรับความรู้สึกของช่องปาก กระพุ้งปาก เหงือกและฟันด้วย เมื่อเราฟันผุก็จะเกิดการกระตุ้นเส้นประสาทใบหน้าส่วนนี้ให้เรารับรู้อาการปวดฟัน เป็นต้น

เส้นประสาทบนใบหน้าที่ทำงานผิดปกติ

บางครั้งไม่ได้เกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ หรือมีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น แต่สาเหตุส่วนใหญ่เรามักจะพบว่ามีเส้นเลือดไปวางทับเส้นประสาทส่วนนี้ เลยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดเหมือนการปวดฟัน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่การปวดฟัน ทำให้หลายๆ คนเกิดความสับสนคิดว่าอาการนี้ คืออาการปวดฟันธรรมดาเลยไปพบทันตแพทย์

อาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้านี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

วิธีการสังเกตตัวเราเอง มีดังนี้

  1. อาการปวดจะมีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ปวดพร้อมกัน 2 ด้าน
  2. อาการปวดจะรุนแรงมาก มีอาการปวดทันที และเกิดขึ้นไม่กี่วินาที หรือเป็นนาทีก็ได้
  3. ในบางคน อาจจะมีอาการปวดเมื่อมีการกระตุ้นบริเวณเส้นประสาทส่วนนี้ เช่น การแต่งหน้า การโกนหนวด การเคี้ยวอาหาร การยิ้ม การแปรงฟัน เป็นต้น
  4. มีอาการปวดบ่อยขึ้น นานขึ้น หรือรุนแรงขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา ทำได้โดย

  1. ตรวจร่างกาย ซักประวัติ แต่ส่วนใหญ่ค้นไข้มักจะไปพบทันตแพทย์มาก่อนแล้วทั้งนั้น ซึ่งหากทันตแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าไม่ได้เกิดจากโรคเกี่ยวกับฟัน ทันตแพทย์อาจจะวินิจฉัยว่าอาจจะเป็นโรคเส้นประสาทบนใบหน้า
  2. โดยทั่วไปโรคนี้สามารถตอบสนองต่อยาได้ดี แต่ก็อาจจะให้ผลได้ดีแค่ในช่วงแรกๆ เมื่อใช้ไปสักพักอาจจะไม่ได้ผล
  3. การรักษาบางเป็นเพียงแค่การบรรเทา โรคนี้รักษาไม่หายขาด ต้องกินยาสม่ำเสมอ
  4. คนไข้บางคนที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล อาจจะต้องใช้การผ่าตัดหรือฉายรังสี
  5. การป้องกันยังทำได้ยาก แต่เมื่อเป็นแล้วให้รีบมาพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาต่อไปดีที่สุด

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update ปวดฟันบ่อย อย่าวางใจ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

5

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

3

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

3