บทความ ต.ค.61_๑๘๑๐๒๔_0009
หน้าแรก
ดูแลจิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย เพื่อจัดการกับความกลัว
ดูแลจิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย เพื่อจัดการกับความกลัว

ปัจจุบันมีข่าวคราวเกี่ยวกับการทำร้ายเกิดขึ้นมากในสังคมไทยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่งผลเสียทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดความฝังใจหรือบาดแผลที่ยากจะฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้ หลายครั้งทำให้ผู้ที่ประสบภัยจากการถูกทำร้าย มีความกลัวและหวาดระแวงจนกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต สำหรับเหยื่อที่เป็นเด็กเมื่อมีความกลัวเกิดขึ้นแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและเหมาะสม

ความกลัวของผู้ที่ถูกทำร้าย

เมื่อประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ สมองจะบอกว่าสิ่งนั้นอันตรายและน่ากลัว ทำให้เมื่อเจอสิ่งที่ดูคล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยประสบ สมองจึงสั่งให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น เหยื่อที่ถูกข่มขืน อาจกลัวผู้ชายและหลีกเลี่ยงที่จะเข้าใกล้ เป็นต้น

การดูแลจิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย

  1. พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยด้วยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่คำพูดไปจนถึงการกระทำ อาจบอกเด็กว่าจะอยู่ใกล้ ๆ ไม่ทิ้งไปไหน ในส่วนของการกระทำอาจใช้วิธีกอดเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย เมื่อเด็กเกิดความหวาดกลัว
  2. หลีกเลี่ยงคำพูดที่บอกว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงเรื่องเล็ก เช่น ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอก มันไม่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องกลัว เป็นต้น
  3. รับฟังให้มากและแสดงออกถึงความเข้าใจ รับฟังตวามรู้สึกด้วยการเปิดใจ ไม่ตัดสิน
  4. พยายามทำให้เด็กมั่นใจว่าเหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก เช่น กรณีที่เด็กถูกล่วงละเมิดในห้องน้ำ อาจจะแนะนำเด็กว่าเวลาเข้าห้องน้ำให้ไปกับเพื่อนหลายคน มีมาตรการชัดเจนที่จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยว่าเหตุการณ์นั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เป็นต้น
  5. ให้เวลาช่วยเยียวยาจิตใจเด็ก อย่าบังคับให้เด็กไปเจอกับสิ่งที่กระตุ้นความกลัวของเด็ก หากเด็กยังไม่พร้อม เช่น กรณีที่เด็กกลัวผู้ชายแม้แต่พ่อของตัวเอง ก็ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งให้เด็กเข้าใกล้พ่อ ผู้เป็นพ่ออาจค่อย ๆ เข้าใกล้ลูก โดยใช้ความสัมพันธ์ของพ่อลูก ให้ลูกค่อย ๆ ปรับสภาพจิตใจ ทำความเข้าใจว่าพ่อไม่ใช่คนที่อันตรายหรือน่ากลัว แล้วเด็กก็จะรู้สึกไว้วางใจ

นอกจากการดูแลจิตใจหลังเด็กถูกทำร้าย ยังพบว่าบางครั้งเด็กที่ถูกทำร้ายก็ไม่กล้าบอกใครว่าตัวเองถูกทำร้าย อาจถูกข่มขู่ไว้ หรือมีความหวาดกลัวด้วยความคิดตัวเอง รวมถึงเหตุผลอื่น ถือเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  1. สอนให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลปกป้องสิทธิของตนเองตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเหตุ บอกกับเด็กว่าร่างกายของเราเป็นสิทธิของเรา ไม่มีใครมีสิทธิทำอะไรกับร่างกายเราโดยที่เราไม่อนุญาต หากใครมากลั่นแกล้ง ล้อเลียน หรือทำร้าย ต้องบอกพ่อแม่ผู้ปกครองทันที ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม
  2. หลีกเลี่ยงการบอกถึงบทลงโทษที่น่ากลัวของผู้ที่ทำร้าย เช่น ถูกประหารชีวิต ติดคุก เป็นต้น เพราะหากผู้ที่ทำร้ายเป็นบุคคลใกล้ตัวเด็ก เช่น พ่อ ตา ปู่ หรือบุคคลอื่น อาจทำให้เด็กไม่กล้าบอกความจริง เพราะกลัวว่าคนใกล้ตัวจะได้รับบทลงโทษนั้น แต่ให้บอกกับเด็กว่าคนที่ทำผิดเป็นบุคคลที่ควรได้รับความช่วยเหลือ เพื่อที่เขาจะได้ไม่ไปทำร้ายใครอีก
  3. หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษผู้ประสบเหตุให้เด็กฟัง เช่น สาเหตุที่โดนทำร้ายเพราะเดินคนเดียว หรือโดนทำร้ายเพราะแต่งตัวไม่เรียบร้อย หากเด็กกลายเป็นเหยื่ออาจไม่กล้าบอกใคร เนื่องจากกลัวถูกต่อว่าว่าเป็นเพราะตัวเอง

 

ข้อมูลโดย
อ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร
สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ไล่ครูออก กรณีเด็ก4ขวบ ถูกรุ่นพี่ ม.2 ล่วงละเมิด : พบหมอรามา ช่วง คุยข่าวเมาท์กับหมอ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5