หัวใจเต้นเร็ว โรคหัวใจ
หน้าแรก
หัวใจเต้นเร็ว อาจไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจเสมอไป
หัวใจเต้นเร็ว อาจไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจเสมอไป

หัวใจเต้นเร็ว คืออัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของคนทั่วไป ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก ใจเต้นแรง และอื่น ๆ เป็นสัญญาณหนึ่งของ โรคหัวใจ แต่ถึงอย่างนั้นภาวะหัวใจเต้นเร็ว อาจไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจเสมอไป แต่อาจหมายถึงโรคอื่น ๆ ได้ด้วย โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ทำให้ เมื่อ มีอาการหัวใจเต้นเร็วจึงเข้าใจว่าตนเองป่วยเป็นโรคหัวใจเท่านั้น

อัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ ขณะพักจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที กรณีที่หัวใจเต้นเร็วคือ สูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

ปัจจัยที่ทำให้ หัวใจเต้นเร็ว

  • การเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา
  • ภาวะซีดหรือภาวะโรคเลือดอื่น ๆ
  • โรคไทรอยด์
  • โรคหัวใจ
  • ความเครียด วิตกกังวล
  • เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชา
  • ยาบางชนิด เช่น ยาลดอาการคัดจมูก

กลุ่มเสี่ยงของคนที่มีโอกาสเกิด โรคหัวใจ

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ที่มีความดันสูง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

หัวใจเต้นเร็ว ที่ไม่ใช่โรคหัวใจ

ในคนที่อายุยังน้อยไม่มีปัจจัยเสี่ยงใด ๆ อาทิ ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไม่มีภาวะความดันสูง ไขมันสูง เป็นไปได้ว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หรือมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้น้อยมาก แต่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะอื่น เช่น ภาวะซีดหรือมีภาวะโรคเลือดอื่น ๆ หรือโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งหากรักษาจนกลับมาอยู่ในภาวะปกติ อาการหัวใจเต้นเร็วก็จะดีขึ้นตามลำดับ

หากมีภาวะซีดที่ไม่รุนแรงและไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่พบว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็ว ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจออกกำลังกายสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ปอดและหัวใจทำงานได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> หัวใจเต้นเร็วอาจไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจเสมอไป

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

  • คนที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถออกกาลังกายได้ตามปกติ ความถี่ที่เหมาะสม คือครั้งละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน
  • ในคนที่สุขภาพดี ควรสังเกตตนเองเวลาออกกำลังกายเสมอ หากเหนื่อยหอบ หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ทั้งที่เพิ่งออกกำลังกายไปได้ไม่นาน หรือออกกำลังกายไม่หนักมาก ควรได้รับการตรวจว่าตนเองมีความผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจเป็นโรคหัวใจโดยที่ตนเองไม่รู้ตัวมาก่อนได้
  • ที่ผ่านมาเคยมีผู้เสียชีวิตขณะเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดมักพบว่ามีโรคหัวใจซ่อนเร้นโดยที่ตนเองไม่รู้ตัว
  • ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ต้องได้รับความคิดเห็นจากแพทย์ประจำตัวก่อน เพื่อประเมินว่าสามารถออกกาลังกายได้ ในระดับไหน ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • คนที่ต้องระมัดระวังเรื่องการออกกาลังกาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหัวใจ

ความดันต่ำออกกำลังกายได้หรือไม่

ภาวะความดันต่ำเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ระดับความดันต่ำที่อยู่ในเกณฑ์ ปกติไม่เป็นอันตรายคือ ต้องเกิน 90 ขึ้นไปจนถึง 100 มม.ปรอทเป็นระดับที่เพียงพอต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะต่าง ๆ หากต่ำกว่า 90 มักมีอาการหน้ามืด เป็นลม หกล้มบาดเจ็บ และถ้าหากพบว่าตนเองมีความดันต่ำควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกาลังกายและพกน้ำดื่มติดตัว รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ให้พร้อม

 

ข้อมูลโดย

รศ. นพ.ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ

สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8

กระดูก โรคกระดูกพรุน
กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย เป็นอาการของ โรคกระดูกพรุน ที่หากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
บทความสุขภาพ
14-03-2024

12