2กายภาพบัด
หน้าแรก
“กายภาพบำบัด” การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด

“กายภาพบำบัด” การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด

ปัญหาในเรื่องของกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุหลายท่านประสบอยู่ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษามีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือการกายภาพบำบัด วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการกายภาพเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการในเรื่องของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยเฉพาะ เมื่อวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่หลายท่านให้ความสนใจ อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุที่เพิ่มขึ้น การทำงานหนักที่อาจใช้งานกล้ามเนื้อหรือกระดูกมากเกินไป รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกได้เช่นกัน

อาการปวดหลังจากการยกของหนัก สามารถบำบัดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการยกของเสียใหม่ สาเหตุสำคัญของคนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหลัง ปวดเอว จากการยกของหนัก มักมีท่ายกของที่ผิด คือการยื่นแขนไปข้างหน้าและยกของหนักขึ้นทำให้ต้องใช้แรงเยอะ และกล้ามเนื้อหลังอาจฉีกขาดได้ ทางที่ดีคือการยกของให้ชิดตัวและใช้วิธีย่อขาแทน จะช่วยป้องกันอาการกล้ามเนื้อหลังฉีกขาดซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังได้ดีขึ้น

ในบางรายอาจประสบปัญหาปวดขาเวลาเดินมากๆ เพื่ออายุเพิ่มขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้าเคยเดินได้ไกล 2-3 กิโลเมตรแต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ก็อาจเดินได้น้อยลงหรือเดินไปได้เพียง 10 ก้าวก็เกิดอาการปวดร้าวทรมาน ปัจจัยสำคัญของปัญหาคืออายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกเสื่อมไปตามกาลเวลา คนส่วนมากเวลาประสบปัญหาจะเลือกทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทา แต่ข้อเสียของการทานยาบ่อยๆ จะเกิดการกัดกระเพาะ และส่งผลเสียต่อตับและไตโดยตรง

วิธีการกายภาพที่ดีคือ

ควรพักผ่อนมากๆ หากปกติเป็นคนทำงานหนัก ควรพักงานสักระยะหนึ่ง และเมื่อเกิดอาการปวดก็ให้ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณที่ปวดแทนการทานยา รวมถึงการนวดและการยืดกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่เหมาะสม แต่ไม่ควรดัดตัว เพราะอาจทำให้อาการหนักกว่าเดิม  และที่สำคัญควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายละเอียดอีกที

ในกรณีที่มีอาการปวดร่วมกับชามากๆ อาจส่อถึงอาการไขสันหลังตีบและแคบลง รวมถึงการเคลื่อนของไขสันหลังไปทับเส้นประสาท หรือที่เรียกว่าโรคเส้นประสาทถูกกดทับ ทำให้ปวดบริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยง แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อเอ็กซเรย์ดูว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนหรือไม่อย่างไร ปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคนี้มีหลายประการ ได้แก่ กระดูกที่เริ่มบาง น้ำหนักที่มาก และอื่นๆ หากผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก การลดน้ำหนักจะช่วยได้ในเรื่องของอาการนี้

อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในยุคปัจจุบันที่ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกก็คือ

การใช้สมาร์ทโฟนในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการงอข้อศอกนานๆ และทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาท บางรายถึงขั้นกล้ามเนื้อตายบางส่วนและเกิดอาการชา หลังผ่าตัดแล้วก็ยังไม่หายจากอาการ โดยการผ่าตัดช่วยได้เพียงป้องกันไม่ให้อาการเกิดเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นการกายภาพจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมอีกหนึ่งวิธี สำหรับคนที่มีอาการชาควรหาลูกบอลกลมๆ มาฝึกกำ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไม่ให้กล้ามเนื้อฝ่อและลีบมากกว่าเดิม แต่สำหรับคนที่ยังไม่เกิดอาการควรป้องกันโดยการไม่งอข้อศอกเยอะเกินไป เลือกท่าปฏิบัติให้เหมาะสม อย่างเช่นการเล่นสมาร์ทโฟน ควรถือให้ห่างตัว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องงอข้อศอกมากเกินไป แต่วิธีนี้อาจทำให้ก้มมากและปวดคอได้ ดังนั้นไม่ควรเล่นติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหยุดพักบ้างจะดีที่สุด

นอกจากการเล่นสมาร์ทโฟน ก็ยังมีในเรื่องอื่นๆ ที่ต้องระวัง เช่น การนั่งพับเพียบนานๆ การขับรถ และอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการงอข้อศอกและข้อเข่า ควรหลีกเลี่ยงหรืองดปริมาณลงเท่าที่จะทำได้

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ไพฑูรย์ เบญจพรเลิศ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รักษาด้วยกายภาพไม่ต้องผ่าตัด : พบหมอรามา ช่วง ลัดคิวหมอ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบเผาผลาญพัง ลดน้ำหนักเท่าไรก็ไม่ผอม
ระบบเผาผลาญพัง ลดน้ำหนักเท่าไรก็ไม่ผอม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? คุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังพยายามลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
บทความสุขภาพ
07-12-2024

1

10-สัญญาณเตือน-ภาวะการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ-Low-self-esteem
สัญญาณการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (low self-esteem) เช่น วิจารณ์ตัวเองเกินไป กลัวการล้มเหลว และไม่มั่นใจในตัวเอง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์
บทความสุขภาพ
04-12-2024

3

ยาแก้อักเสบVSยาฆ่าเชื้อ เหมือนหรือต่าง
ยาแก้อักเสบช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ส่วนยาฆ่าเชื้อใช้กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ ทั้งสองชนิดทำงานต่างกันและใช้ในกรณีที่ต่างกัน
บทความสุขภาพ
01-12-2024

4

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

5