5 โรคที่มาพร้อมกับ ไขมันรอบเอว
หน้าแรก
5 โรคที่มาพร้อมกับไขมันรอบเอว

5 โรคที่มาพร้อมกับไขมันรอบเอว

ไขมันรอบเอว หรือ ไขมันช่องท้องสาเหตุของอ้วนลงพุง ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่คนอ้วนลงพุง มีไขมันหน้าท้องมาก มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากโรคต่างๆ มากกว่าคนอ้วนซะอีก ผลวิจัยนี้ถูกนำเสนอใน European Society of Cardiology เมื่อปี 2012 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยกว่า 12,785 คน ตลอดระยะเวลา 14 ปี คำนวณหาดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ซึ่งเป็นอัตราของไขมันในร่างกายต่อความสูง และอัตราส่วนของเอวต่อสะโพกเพื่อหาอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ

ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่มีขนาดรอบเอวมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคต่างๆ มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติและขนาดรอบเอวปกติ 2.1 เท่า

อันตรายและโรคที่มาพร้อม “ไขมันรอบเอว” ได้แก่

1. ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่

มีผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่อ้วนลงพุงนั้นจะทำให้การทำงานของปอดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ และไม่มีไขมันหน้าท้อง ผลการวิจัยนี้พบว่าผู้ที่มีไขมันส่วนเกินทำให้อัตราการหายใจลดลง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้ทางเดินหายใจหดแคบลง และก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังอย่างหอบหืดตามมาได้

2. การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ

จากผลการศึกษาปี 2012 พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่อ้วนลงพุงกับภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตันและภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบระหว่างคนอ้วน คนอ้วนที่มีพุงและคนที่มีสุขภาพดีพบว่า หากอัตราส่วนของเอวต่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 0.1 ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น

ดังนั้น ผู้ที่มีไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะดังกล่าว และการที่เส้นเลือดแดงแข็งตัวและตีบนั้นก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

3. เสี่ยงต่อเบาหวาน

ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่พบในคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันนี้มีการผลิตฮอร์โมนซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย นอกจากนี้ฮอร์โมนดังกล่าวยังทำให้ตัวรับสัญญาณอินซูลินทำงานผิดปกติ ซึ่งหมายความว่าอินซูลินซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายจะทำงานด้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นนั่นเอง

4. ระดับคอเลสเตอรอลสูงและโรคหัวใจ

ไขมันที่อยู่บริเวณขาหรือก้นนั้นเป็นไขมันที่มีการเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าไขมันบริเวณหน้าท้องของคนอ้วนลงพุง ซึ่งสาเหตุที่การเผาผลาญไขมันบรัเวณนี้ดีกว่าเนื่องจากได้ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และอินซูลินต่ำกว่าไขมันที่เผาผลาญจากบริเวณช่องท้อง

นอกจากนั้นไขมันในช่องท้องสามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอล LDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ) นอกจากนั้นกรดไขมันอิสระยังทำให้ระดับของไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL ลดลง ซึ่งไขมันเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด แต่ยังทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจวายตามมาได้

5. เสี่ยงโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

ผลการศึกษาในปี 2010 พบว่ายิ่งรอบเอวคุณหนามากเท่าไหร่ รวมทั้งยิ่งอ้วนลงพุงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นเท่านั้น โดยจากการศึกษาพบว่าผู้อ้วนลงพุงทำให้เซลล์สมองน้อยกว่าคนปกติ ซึ่งก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ตามมาได้

โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าไขมันจะไปอุดตันในเส้นเลือดทำให้เลือดไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่สะดวก สมองจึงขาดออกซิเจน และทำให้เซลล์ตายนั่นเอง

วิธีรับมือกับอ้วนลงพุง

การทานอาหารในแต่ละมื้อนั้น ส่งผลโดยตรงต่อระดับไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ พันธุกรรมก็ส่งผลต่อความอ้วนด้วยเช่นกัน ซึ่งหากคุณเป็นคนอ้วนลงพุง อยากลดน้ำหนักเพื่อให้มีสุขภาพดีและลดอาการเสี่ยงของโรคต่างๆ นั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าต้องออกกำลังกายเพื่อกำจัดไขมันในช่องท้องเหล่านี้ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ จะสามารถช่วยได้ ลองหาเวลาออกกำลังกายให้ได้สักวันละ ครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง เป็นประจำ เพียงเท่านี้ไขมันรอบเอวเหล่านั้นก็จะลดลงได้

 

ข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ติดตาม Rama Channel เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Youtube: RAMA Channel
Facebook: รามาแชนแนล Rama Channel 

LINE: Ramathibodi
Tiktok: ramachanneltv รามาแชนแนล ช่องของคนรักสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

3

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

1

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดในจอประสาทตา เสี่ยงตาบอดถาวร ควรตรวจตาและควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
28-11-2024

-28

ข้อเข่าเสื่อม สามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
25-11-2024

34

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL