4 ระยะความรุนแรงของนิ้วล็อก-01
หน้าแรก
4 ระยะความรุนแรงของนิ้วล็อก
4 ระยะความรุนแรงของนิ้วล็อก

นิ้วล็อก

คือ อาการปวดบริเวณผ่ามือใกล้ ๆ โคนนิ้ว และโดยมากมักมีอาการนิ้วเคลื่อนที่ไม่สะดวก มีอาการติด หรือสะดุดเวลาขยับนิ้ว

โดยสาเหตุของการเกิดนิ้วล็อก คือ การใช้งานของมือและนิ้วมือมากและระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว โดยตัวอย่างลักษณะงานที่พบเจอได้บ่อย เช่น พนักงานออฟฟิศที่พิมพ์งานติดต่อกันเป็นระยะนานติดต่อกันหลายชั่วโมง แม่บ้านที่ต้องซักผ้าและบิดผ้าบ่อย ๆ ถือถุงที่ต้องมีการกำมือแน่นระหว่างการหิ้วของหนัก นักกีฬาที่ต้องใช้การจับอุปกรณ์ที่แน่น ๆ เช่น เทนนิส แบดมินตัน และปั่นจักรยานภูเขา เป็นต้น หรือแม้กระทั้งในคนที่ชอบเล่นมือถือ แท็บเล็ต ที่ต้องใช้การจับมือถือให้มั่นคงอยู่ในมือ เพื่อไม่ให้มือถือหลุดจากมือ

ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ แต่ยังไม่มีการสะดุดระหว่างการเคลื่อนไหวนิ้ว

ระยะที่ 2 เริ่มมีการสะดุดเวลาขยับนิ้ว แต่ยังขยับได้อยู่

ระยะที่ 3 นิ้วติดล็อก แต่ยังสามารถเหยียดออกได้โดยการใช้มืออีกข้างช่วยแกะ

ระยะที่ 4 นิ้วติดจนไม่สามารถขยับออกได้

การรักษา

ระยะที่ 1-2 

กินยาแก้ปวด 

ลดการใช้นิ้ว

แช่น้ำอุ่นวันละ 10-20 นาที พร้อมบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (untrasound+shock wave)

ระยะที่ 3-4

ฉีดยาสเตียรอยด์

ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็น


ข้อมูลโดย
อ.นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

4

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1