ไอโอดีน
หน้าแรก
"ไอโอดีน" สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้
"ไอโอดีน" สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้

การขาดสารไอโอดีนไม่ใช่แค่ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคคอพอกเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ จากผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2552 พบว่าเด็กไทยมี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล เพราะขาดสารไอโอดีน ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญา

ทั้งยังมีงานวิจัยพบว่า หากทดสอบเชาว์ปัญญาของเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ขาดสารไอโอดีนเปรียบเทียบกับเด็กที่อยู่ในบริเวณที่ไม่ขาดสารไอโอดีน จะพบว่าเด็กกลุ่มแรกมีเชาว์ปัญญาน้อยกว่าเด็กกลุ่มหลังตามลำดับ ถึงแม้ว่าเด็กกลุ่มแรกจะมีลักษณะภายนอกปกติทุกอย่าง

ในอดีตส่วนใหญ่ผู้ที่ขาดสารไอโอดีนมักอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารหรือในพื้นที่ที่ดินไม่มีเกลือไอโอดีน

เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือ ซึ่งโรคดังกล่าวมีมานานมากแล้ว แต่พบจริงๆ เมื่อประมาณ 50-60 ปีที่แล้ว เบื้องต้นประชาชนจะเข้าใจว่าการขาดสารไอโอดีนทำให้เกิดคอพอก ซึ่งโรคคอพอกคือการที่ต่อมไทรอยด์โตเมื่อขาดสารไอโอดีน โดยต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นจะถูกเรียกว่าคอพอก เพราะไอโอดีนเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าไทรอยด์ฮอร์โมนมีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญนั่นเอง

ช่วงแรกๆ หลายคนจะเข้าใจว่าไอโอดีนทำให้เกิดคอพอก อีกทั้งยังขาดความเข้าใจที่สำคัญไปอีกประเด็นหนึ่ง นั่นคือการบกพร่องทางสติปัญญา แม้สถานการณ์ไอโอดีนจะดีขึ้น จากการสำรวจอาการคอพอกในเด็กนักเรียนที่ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่เมื่อสำรวจไอโอดีนในปัสสาวะ ปรากฏว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่

สิ่งสำคัญที่จะได้รับผลกระทบต่อการขาดสารไอโอดีนมากที่สุด คือ

ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะฉะนั้นสตรีมีภรรค์จึงเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะต้องมีโภชนาการและไอโอดีนที่เพียงพอ และอีกวัยหนึ่งคือหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะเป็นวัยที่พร้อมจะตั้งครรภ์และก่อนที่จะตั้งครรภ์ควรมั่นใจว่าได้รับโภชนาการและไอโอดีนที่เพียงพอแล้วจากการรับประทาน ดังนั้นจึงควรรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนสามารถขาดสารไอโอดีนได้ตลอดเวลา ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงพอ

คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติจึงต้องมีมาตรการให้ประชาชนได้บริโภคสารไอโอดีนอย่างทั่วถึง

ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน และได้มีการกระจายไปยังโรงงานการผลิตต่างๆ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนในระดับโรงงาน ทำให้ปัจจุบันคุณภาพของเกลือเสริมไอโอดีนดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็ควรเฝ้าระวังในทุกๆ วัน กระบวนการผลิตจึงจะได้มาตรฐาน

นอกจากนี้เราต้องเฝ้าระวังเรื่องการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน รวมทั้งส่งเสริมการกระจายที่ครอบคลุมทั่วถึง เช่นใน อาหารทะเล ซีอิ้ว น้ำปลา หรือยาเม็ดเสริมไอโอดีนในสตรีมีครรภ์ ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้ในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดคือความเข้าใจของประชาชนโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์มารดา และต้องระวังไม่ให้เกิดโรคขาดสารไอโอดีน และให้โรคนี้หมดสิ้นไปในประเทศไทย

 

ข้อมูลจาก
ศ.เกียรติคุณ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน
ที่ปรึกษาด้านบริหาร
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Meet the Expert คนไทยต้องไม่ขาดไอโอดีน” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

5