บทความ ต.ค.61_๑๘๑๐๐๙_0002
หน้าแรก
ไขปัญหาสุขภาพจิต กับอาการนอนไม่หลับ
ไขปัญหาสุขภาพจิต กับอาการนอนไม่หลับ

ปัญหาสุขภาพจิตบางครั้งส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ ทำให้ผู้ป่วยหลายรายที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ มีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียระหว่างวัน ไม่มีสมาธิทำงานหรือเรียนหนังสือ ขณะที่ปัญหาดังกล่าวสามารถจัดการได้ โดยการสำรวจตัวเองถึงความคิดที่มักทำให้นอนไม่หลับ หรือปรึกษาคนรอบข้าง รวมไปถึงปรึกษาแพทย์ หากพบว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเอง

ปัญหาสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับอย่างไร?

ผู้ป่วยที่กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต มีหลายรายได้รับผลข้างเคียงคืออาการ “นอนไม่หลับ” ซึ่งอาจมาจากความคิดภายในจิตใจ ความวิตกกังวล อารมณ์ หรือความรู้สึก โดยอาการทางจิตเวชที่ส่งผลให้นอนไม่หลับนั้นมีหลายอย่าง เช่น  โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เป็นต้น

การแก้ไขปัญหานอนไม่หลับในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

1. สำรวจตัวเอง

หากพบว่าตนเองมีปัญหานอนไม่หลับ ต้องสำรวจก่อนว่าอะไรคือสาเหตุ โดยการสังเกตว่าเวลานอนไม่หลับมักคิดถึงเรื่องอะไร หากคิดถึงเรื่องนั้นทุกครั้งเวลานอน เป็นไปได้ว่าความคิดนั้นคือสาเหตุหลักที่ทำให้นอนไม่หลับ แก้ไขได้โดยการเบี่ยงเบนความคิดแต่ถ้าหากไม่สามารถทำได้ควรปรึกษาคนรอบข้าง และถ้าหากไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ตามลำดับ

2. ปรับยา

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตบางรายมีโรคประจำตัวที่อยู่ระหว่างการรักษา เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการหนึ่งของโรค แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับ แต่ถ้าหากพบว่าเริ่มนอนไม่หลับทั้งที่กินยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ อาจต้องแก้ไขโดยการปรับยา ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อปรับยาภายใต้การวินัจฉัยของแพทย์ ไม่ควรปรับยาเอง

3. ปรึกษาคนรอบข้าง

หากพบว่านอนไม่หลับจากความเครียด ความวิตกกังวลในเรื่องต่าง ๆ ควรหาที่ปรึกษา อาจเป็นคนในครอบครัว หรือคนรอบข้างที่ไว้ใจได้ เพื่อระบายความในใจ อาจช่วยให้ดีขึ้น แต่ถ้าหากพบว่าไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ต่อไปตามลำดับ

4. ปรึกษาแพทย์

สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตทำให้นอนไม่หลับ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง อาจปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยวินัจฉัยถึงสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ รวมถึงแก้ปัญหาได้ถูกจุด โดยการรักษาตามอาการของผู้ป่วย

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากนอนไม่หลับ

1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

พบว่าบางรายเมื่อนอนไม่หลับมีการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ เช่น มีการใช้ยาแก้แพ้ ซึ่งแพทย์ไม่แนะนำ แต่ควรรักษาให้ถูกจุดจะดีที่สุด

2. อย่าตั้งใจนอน

ผู้ที่ประสบปัญหานอนไม่หลับ มักมีพฤติกรรมตั้งใจนอนหรือบังคับตัวเองให้นอนหลับ แต่การกระทำแบบนั้นยิ่งส่งผลให้นอนไม่หลับ เพราะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอน ทางที่ดีควรนอนสบาย ๆ โดยไม่ต้องฝืนตัวเองให้หลับ เมื่อร่างกายพร้อมที่จะหลับหรือง่วงก็จะหลับไปเองโดยธรรมชาติ

3. ไม่ปรับยาเอง

ผู้ป่วยทางจิตเวชอาจต้องได้รับยาเพื่อให้นอนหลับปกติ แต่ถ้าหากพบปัญหานอนไม่หลับ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อทำการปรับยา แต่ไม่ควรปรับยาเอง

4. อย่าเก็บปัญหาไว้คนเดียว

หากพบว่าตนเองนอนไม่หลับจากความคิดภายในจิตใจ อาจเป็นเรื่องราวในอดีตและอื่น ๆ ควรหาที่ปรึกษา อย่าเก็บปัญหาไว้คนเดียวเพราะจะทำให้เกิดความเครียด ซึ่งนำไปสู่อาการทางจิตเวชที่รุนแรง อาจปรึกษาคนรอบข้างหรือปรึกษาแพทย์

 

ข้อมูลจาก 
ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต : พบหมอรามา ช่วง ลัดคิวหมอ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5